การศึกษาประสิทธิภาพของ น้ำมะนาว น้ำส้มสายชู และน้ำมะขามเปียก เพื่อช่วยยับยั้งการเกิดเชื้อราบนถ่านดับกลิ่นไม่พึงประสงค์จากขยะอินทรีย์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พรรณพัชร์ ขำวิวรรธน์, ภัณฑิรา เผือดผ่อง, โชติกานต์ ทองประเสริฐ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เกียรติศักดิ์ กสานติกรพงศา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อ
เนื่องจากโครงงานการกาจัดกลิ่นไม่พึงประสงค์จากขยะอินทรีย์มีปัญหาเกี่ยวกับเชื้อราเกิดขึ้นระหว่าง ทาการศึกษาเรื่องถ่านดูดกลิ่นไม่พึงประสงค์ที่ใช้ขยะอินทรีย์ซึ่งก็คือ กากกาแฟ กากใบชา และเปลือกส้ม มา เป็นวัตถุดิบในการผลิตถ่านขึ้น ซึ่งจากการศึกษามาแล้วพบว่าถ่านที่มีส่วนผสมของกากกาแฟมีประสิทธิภาพใน การดูดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้ดีกว่า ถ่านที่ผสมด้วยกากชา หรือ เปลือกส้มบดละเอียด ผู้จัดทาจึงได้นาปัญหาที่ ได้สังเกตเห็นพบว่ามีเชื้อราเกิดขึ้นบนถ่านดูดกลิ่น ทางผู้จัดทาโครงงานจึงได้ทาการศึกษาหาวิธี และคานวณ อัตราส่วนผสมใหม่ เพื่อจะยับยั้งการเกิดเชื้อราบนถ่านดดู กลิ่นไม่พึงประสงค์จากขยะอินทรีย์ พบว่าสามารถนา วัตถุดิบจากในครัว และหาง่าย คือ น้ามะนาว น้าส้มสายชู และน้ามะขามเปียก นามาเป็นส่วนผสมเพื่อช่วย ยับยั้งการเกิดเชื้อรา โดยการต่อยอดความรู้เดิมและเกิดองค์ความรู้ใหม่ในโครงงานเรื่อง การศึกษา ประสิทธิภาพของน้ามะนาว น้าส้มสายชูและน้ามะขามเปียก เพื่อช่วยยับยั้งการเกิดเชื้อราบนถ่านดับกลิ่นไม่พึง ประสงค์จากขยะอินทรีย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการเกิดเชื้อราจากถ่านดับกลิ่นไม่พึงประสงค์และเพื่อ แก้ไขปัญหาจากขยะอินทรีย์ที่เหลือใช้ โดยผู้จัดทาได้นาถ่านดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ผสมสารตัวอย่าง 3 สาร คือ น้ามะนาว น้าส้มสายชู และน้ามะขามเปียก ที่หาได้ในครัวซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด มาทาการทดลอง โดยใช้ น้า มะนาว น้าส้มสายชูและน้ามะขามเปียก อย่างละ 100 มิลลิลิตร กากกาแฟบดละเอียด 200 กรัม และผสม ถ่านไม้บดละเอียดปริมาณ 100 กรัม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดูดกลิ่นได้ดี เนื่องจากถ่านมีคุณสมบัติดูดกลิ่น เมื่อเตรียมวัตถุดิบเรียบร้อย จะนาอัตราส่วนที่กล่าวมาข้างต้นผสมกันแล้วนาไปอัดเป็นแท่ง 3 ก้อน ก้อนแรก ใช้ถ่านไม้ผสมกากกาแฟบดละเอียดโดยมีน้ามะนาวเป็นส่วนผสม ก้อนที่สองถ่านไม้บดละเอียดผสมกากกาแฟ บดละเอียดโดยมีน้าส้มน้าส้มสายชูเป็นส่วนผสม และก้อนที่สามถ่านไม้บดละเอียดผสมกากกาแฟบดละเอียด และผสมน้ามะขามเปียก เมื่ออัดแท่งเรียบร้อยจะนาไปผึ่งลมให้แห้ง จะได้ผลิตภัณฑ์ถ่านดับกลิ่นไม่พึงประสงค์ จากขยะอินทรีย์ 3 รูปแบบ จากนั้นนาไปทดลองวางไว้ในตู้เย็นรูปแบบละ 10 วัน โดยเป็นตู้เย็นขนาดเดียวกัน ควบคุมที่อุณหภูมิเดียวกัน สังเกตและบันทึกผลที่ได้ ว่าถ่านดูดกลิ่นมีเริ่มพบเชื้อราขึ้นภายในกี่วัน สังเกตทุกๆ 24 ชั่วโมง จากนั้นผู้จัดทาได้รวบรวมผลการศึกษาแล้วเปรียบเทียบประสิทธิภาพของถ่านดูดกลิ่น 3 รูปแบบ พบว่า ถ่านดูดกลิ่นแบบแรกคือถ่านดูดกลิ่นที่มีส่วนผสมของน้ามะนาวจะเริ่มพบเชื้อราขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปเฉลี่ย 5-6 วัน ถ่านดูดกลิ่นแบบที่สองคือถ่านดูดกลิ่นที่มีส่วนผสมของน้าส้มสายชูเริ่มพบเชื้อราขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป เฉลี่ย 7-9 วัน และถ่านดูดกลิ่นแบบที่สามคือถ่านดูดกลิ่นที่มีส่วนผสมของน้ามะขามเปียกจะเกิดเชื้อราขึ้นเมื่อ เวลาผ่านไปเฉลี่ย 3-4 วัน จากผลการทดลองสรุปได้ว่าถ่านดูดกลิ่นไม่พึงประสงค์จากขยะอินทรีย์ที่มีส่วนผสม ของน้าส้มสายชูมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเกิดเชื้อราบนถ่านได้ดีที่สุด รองลงมาคือถ่านดูดกลิ่นที่มี ส่วนผสมของน้ามะนาว และถ่านดูดกลิ่นที่มีส่วนผสมของน้ามะขาวเปียก ตามลาดับ