พื้นที่ผิวที่น้อยที่สุดของแก้วทรงกรวยตัดยอด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัฐชยา ชูจักร, วชิรวิทย์ ศรีสุข, ภูตะวัน เพชรรัตน์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ปรารถนา หยงสตาร์, เปรมอนันต์ เจือกโว้น

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวที่น้อยที่สุดของแก้วทรงกรวยตัดยอด มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบวิธีการออกแบบแก้วทรงกรวยตัดยอดที่ทำให้แก้วมีพื้นที่ผิวน้อยที่สุด โดยศึกษาแก้วทรงกรวยตัดยอด 2 ขนาด คือ 16 ออนซ์ และ 22 ออนซ์ ซึ่งมีการควบคุมปริมาตรให้คงที่ และควบคุมตัวแปรอื่นที่แตกต่างกัน 3 วิธี ดังนี้ 1) ควบคุมรัศมีฐานแก้ว 2.765 เซนติเมตร 2) ควบคุมรัศมีปากแก้ว 4.265 เซนติเมตร และ 3) ควบคุมอัตราส่วนรัศมีฐานแก้วต่อรัศมีปากแก้วเป็น 1 : 1.5425 จากนั้นไปสร้างกราฟ โดยใช้โปรแกรม Desmos Graphing Calculator เพื่อหารัศมีของฐานแก้ว และรัศมีของปากแก้ว ที่ทำให้แก้วมีพื้นที่ผิวน้อยที่สุด และใช้โปรแกรม GeoGebra ในจำลองลักษณะของแก้ว