ศึกษาสมบัติทางแสงของรังนกนางแอ่นแท้และเทียมเพื่อพัฒนาเป็นอุปกรณ์พิสูจน์รังนกต้นแบบ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ธีรภาพ กิจธนากำจร, ปิยะวัฒน์ วัฒโน, ศุภวิชญ์ แจ่มประไพ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัฐพล กลิ่นพุฒ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัญหาการเอาเปรียบผู้บริโภคในการจำหน่ายรังนกเทียมโดยแปรรูปจากยางคารายาเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบกันมากทั้งในด้านสุขภาพและเศรษฐกิจประเทศไทย ในปัจจุบันการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์รังนกจากทางภาครัฐโดยใช้เทคนิคอินฟราเรดสเปคโตรสโคปีเพื่อตรวจหาซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงและใช้เวลานาน ทำให้ผู้วิจัยสนใจศึกษากระบวนการในการตรวจสอบที่ง่าย รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงโดยใช้กระบวนการทางกายภาพทางแสงโดยการศึกษาการดูดซับน้ำ การกระเจิงแสง การหักเหแสงและการดูดกลืนแสง จากการทดลองเมื่อนำแสงเลเซอร์มาส่องผ่านสารละลายรังนกแล้ววัดพื้นที่ด้วยโปรแกรม Multispecwin64 บนฉากรับภาพ พบว่ารังนกแท้มีพื้นที่การกระเจิงแสงเฉลี่ย 9.590 ตารางเซนติเมตร รังนกเทียมมีพื้นที่เฉลี่ยอยู่ที่ 2.718 ตารางเซนติเมตร และเมื่อนำมาผสมกับน้ำตาลความเข้มข้นต่างๆพบว่ารังนกแท้และรังนกเทียมมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยทั้งรังนกแท้และรังนกเทียมมีการ หักเหที่แตกต่างกันเนื่องจากรังนกแท้และรังนกเทียมมีขนาดอนุภาคที่แตกต่างกันทำให้มุมหักเหต่างกันด้วย ทางผู้จัดทำจึงได้นำผลการทดลองที่ได้ไปพัฒนาเป็นอุปกรณ์พิสูจน์เอกลักษณ์รังนกที่มีประสิทธิภาพและสะดวกในการใช้งาน