การออกแบบและพัฒนาเสาอากาศของวงจรเก็บเกี่ยวพลังงานในช่วงความถี่คลื่นวิทยุโดยเลียนแบบการรับสัญญาณของแมลง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

อัจฉริยา โรจน์บัณฑิต, ภาคิน ส่งศรีบุญสิทธิ์, เขมจิรัฎฐ์ เฮงสวัสดิ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ปราณี ดิษรัฐกิจ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในโครงงานนี้จะทำการศึกษา ออกแบบ

และพัฒนาวงจรการเก็บเกี่ยวพลังงานในช่วงความถี่คลื่นวิทยุ

โดยจะเน้นไปที่การเลียนแบบโครงสร้างของเสาอากาศ (Antenna)

มาจากดวงตาของแมลง (Biomimicry) เพิ่มประสิทธิภาพของวงจรเก็บเกี่ยวพลังงาน

โดยใช้การจำลองทางคอมพิวเตอร์

ซึ่งตัวแปรสำคัญที่จะใช้ในการพิจารณารูปแบบของวงจร คือ ขนาด รูปร่าง

และค่าพารามิเตอร์อื่น ๆ เช่น ความถี่ ความยาวคลื่น รวมถึงค่า Input และ Output Voltage

ของวงจร เพื่อที่จะหารูปแบบของ Antenna ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด

จากนั้นจะนำค่าและประสิทธิภาพที่ได้จากการทำ Simulation ในส่วนของ Antenna

ไปใช้ต่อยอดในการพัฒนา ออกแบบ และจำลองวงจรปรับสภาพ (Matching Network

Circuit) และวงจรแปลงกระแส (Rectifier) ซึ่งทั้งสามส่วนนี้ เป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญ

ของวงจรที่ใช้ในการเก็บเกี่ยวพลังงานในช่วงความถี่คลื่นวิทยุ

ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาต่อให้เป็นนวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ได้ในอนาคต เช่น

แหล่งผลิตพลังงานไร้สาย และอุปกรณ์ไร้สาย รวมถึงนำไปประยุกต์เป็นเครื่องมืออื่น

ๆ เช่น อุปกรณ์ทางการแพทย์