การดูดซับเหล็กและทองแดงที่ปนเปื้อนน้ำโดยมีทางปาล์มเป็นวัสดุดูดซับ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นายลัทธพล อึ่งทอง, ซอลิหะฮ์ หยังหลัง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ขวัญใจ กาญจนศรีเมฆ, จิราพร ศิริรัตน์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ทางภาคใต้ของประเทศไทยมีการปลูกปาล์มน้ำมันเป็นจำนวนมาก ทางปาล์มจะมีเส้นใยเซลลูโลสสูง
งานวิจัยนี้มีความประสงค์ที่จะนำทางปาล์มซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งมาใช้ ศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับเหล็กและทองแดงที่ปนเปื้อนในน้ำ โดยการศึกษาการเตรียมเซลลูโลสจากทางปาล์มเพื่อใช้ดูดซับเหล็ก (II) และทองแดง (II) ไอออนโดยใช้ทางปาล์มที่ไม่ได้ปรับสภาพทางเคมี (HL) และที่ปรับสภาพจากเคมี (MHL) ด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่ความเข้มข้น 5, 10 และ 20% และสารละลายไฮโดรคลอริก 1 M และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดูดซับเหล็กและทองแดง ได้แก่ ขนาดของอนุภาคของวัสดุดูดซับ ระยะเวลาในการดูดซับ พีเอชที่เหมาะสมในการดูดซับเหล็ก(II) และทองแดง (II) ไอออน และนำสภาวะที่เหมาะสมจากงานวิจัยมาศึกษาหาความสามารถสูงสุดในการดูดซับเหล็กและทองแดงด้วยวิธีแบบถังแช่และแบบต่อเนื่อง