การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของฉนวนกันความร้อนที่ทำจากเส้นใยกาบกล้วยและ เส้นใยจากลำต้นหญ้าคา
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ศิวัช สังขดิษฐ์, ภูวิศปูรณ์ พิริยะพงศ์ไพโรจน์, ณชพล ปิ่นสำโรง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วารีย์ บุญลือ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เนื่องจากประเทศไทยตั้งอยู่ใกล้บริเวณเส้นศูนย์สูตรของโลก เป็นบริเวณที่มีอุณหภูมิค่อนข้างสูงจึงมีอากาศร้อนอบอ้าว (อุมา ลางคุลเสน , นันทวรรณ วิจิตรวาทการ , 2561) ปัจจุบันเเบบบ้านในประเทศไทยส่วนใหญ่เลียนเเบบบ้านในยุโรปเป็นเเบบบ้านที่ไม่ค่อยระบายความร้อนซึ่งเหมาะกับอากาศในยุโรปที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำ (วิชัญโญ สุขประสพโภคา , 2559) ไม่เหมาะกับภูมิอากาศในประเทศไทย การสร้างบ้านในประเทศไทยจึงมักต้องมีฉนวนกันความร้อน เช่น ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ฉนวนกันความร้อนที่นำมาใช้ส่วนมากเป็น เส้นใยสังเคราะห์นำเข้าจากต่างประเทศจึงมีราคาค่อนข้างสูง เเละ เนื่องจากประชากรคนไทยส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมจึงมีวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรจำนวนมากที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น กาบกล้วย ฟางข้าว หญ้าคา เปลือกทุเรียน ฯลฯ (โรสลีนา จาราแว , 2559) ซึ่งหญ้าคาเป็นวัชพืชที่คนไทยนิยมนำมาใช้มุงหลังคา คณะผู้จัดทำจึงคาดว่าหญ้าคาอาจจะช่วยลดความร้อนแสดงคุณสมบัติความเป็นฉนวนกันความร้อน และต้นกล้วยก็เป็นพืชที่นิยมปลูกตามบ้านเรือน(วรุษ เกสรบัว , 2554)
ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะนำวัสดุจากต้นหญ้าคา เเละกาบกล้วยมาทดสอบความสามารถในการเป็นฉนวนกันความร้อน ว่าพืชชนิดใดสามารถนำมาเป็นฉนวนกันความร้อนได้ดีที่สุดเเละพัฒนาต่อยอดเป็นวัตกรรมด้านฉนวนกันความร้อนต่อไป