การศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่าง กระดาษลังรีไซเคิล เส้นใยฟางข้าว และยางพาราในการพัฒนาเป็นกล่องเก็บความเย็นจากธรรมชาติ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐชัย ศรีตะสังข์, ธีรวัฒน์ พรรณพัฒน์กุล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ชิตพงษ์ เหนือเกาะหวาย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โฟมเป็นผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกชนิดโพลิสไตรีน ผ่านกรรมวิธีการผลิต โดยใช้สารเร่ง หรือสารที่ทำให้ขยายตัว ซึ่งสารที่เป็นส่วนประกอบในการผลิตโฟมชนิดหนึ่งมีส่วนทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม จากการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นพบว่าเส้นใยฟางข้าวมีคุณสมบัติบางประการที่เหมาะสมต่อการนำมาพัฒนาเป็นกล่องเก็บความเย็นแต่มีข้อจำกัดคือไม่ทนต่อน้ำและความชื้นซึ่งสามารถปรับปรุงได้โดยการผสมยางพารา มีคุณสมบัติ ยืดหยุ่น และทนต่อน้ำอนุภาคเล็ก ๆ ระดับไมครอนของยางธรรมชาติที่แขวนลอยในน้ำยางสามารถผสมเข้ากับเส้นใยเชลลูโลสได้อย่างสม่ำเสมอ โครงงานเรื่องนี้จึงจึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอัตราส่วนที่เหมาะสมของลังกระดาษรีไซเคิล ฟางข้าวและยางพารา 2) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของกล่องเก็บความเย็นจากลังกระดาษรีไซเคิล เส้นใยฟางข้าวและยางพารา โดยทำการทดลอง วิธีการเตรียมเส้นใยฟางข้าวลำดับแรกจากนั้นนำไปผสมกับกระดาษลังและยางพาราในอัตราส่วนที่ต่างกันจากนั้นจะนำไปทดสอบประสิทธิภาพโดยหาค่าความหนาแน่น ค่าการดูดซึมน้ำ ค่าการทนต่อแรงดึงสูงสุดและค่าคุณสมบัติการเก็บความเย็น และผู้จัดทำคาดว่าโครงงานเรื่องนี้จะ 1)เป็นทางเลือกเพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าให้แก่ฟางข้าว 2)ทราบถึงประสิทธิภาพของกล่องเก็บความเย็นจากกระดาษลังรีไซเคิลและฟางข้าวที่ประสานด้วยยางพารา 3)ได้วัสดุทางเลือกจากธรรมชาติที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้หลายครั้งเพื่อทดแทนกล่องโฟม 4)ได้ทราบอัตราส่วนที่เหมาะสมในการทำกล่องเก็บความเย็นจากกระดาษลังรีไซเคิลและฟางข้าวที่ประสานด้วยยางพารา