การศึกษาการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้าของโพลีเอสเทอร์เรซินแบบเหลวและแบบแข็งตัวจากครั่ง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ชัชญา ก้อนคำ, อรปรียา แสงศรีจันทร์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

พิพัฒน์ เชื้อเมืองพาน

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เนื่องจากลักษณะภูมิอากาศและสภาพแวดล้อมของประเทศไทยเหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของครั่ง

ทั้งในอดีตและปัจจุบันมนุษย์ได้นำไปใช้ประโยชน์อย่างหลากหลายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันทั้งในการอุตสาหกรรม การนำสีของครั่งไปใช้เป็นสีย้อมผ้า ตลอดจนใช้ประทับตราไปรษณีย์ขนส่งหรือตราประทับเอกสารทางราชการใดๆ การทำแลกเกอร์ แชลเล็ค การนำมาหลอมเป็นเครื่องใช้ เครื่องประดับต่างๆ โดยใช้ เรซินที่ได้จากยางเหนียวของครั่ง อีกทั้งเรซินธรรมชาติละลายได้ในตัวทำละลายเกือบทุกชนิด และนำมาใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ทำวาร์นิช สารเคลือบผิว กาว และใช้เป็นสารประกอบ ในอุตสาหกรรมยา น้ำหอม สารให้กลิ่น (flavors) ได้มีการใช้ประโยชน์ของ เรซินมาตั้งแต่สมัยโบราณ อีกทั้งเรซินมีคุณสมบัติทั้งทางกายภาพ ทางไฟฟ้า และทางเคมีคุณสมบัติทางกายภาพ มีคุณสมบัติให้เนื้อแข็ง ใส เงา ทนอุณหภูมิสูงดีกว่าพลาสติกชนิดเทอร์โมพลาสติก ( termoplastic ) แต่น้อยกว่าโลหะ เมื่อเสริมแรงด้วยใยแก้ว จะได้ความแข็งแรงที่เพิ่มมากขึ้น มีความเบา แข็งแรงเหนียว ไม่เปราะ คุณสมบัติทางไฟฟ้า เรซินมีคุณสมบัติทางไฟฟ้าที่ครบถ้วน สามารถนำไปใช้เป็นฉนวนไฟฟ้า ( insulator ) ได้ ซึ่งไม่มีใครให้ความสำคัญเกี่ยวกับสมบัติทางไฟฟ้าของเรซินมากนัก ปัจจุบันมีการใช้ประโยชน์จากครั่งน้อยลงจากอดีตเป็นอย่างมาก ทำให้ผู้จัดทำสนใจที่จะศึกษาสมบัติทางไฟฟ้าของเรซินจากครั่งเพื่อที่จะเพิ่มคุณค่าสมบัติทางไฟฟ้าของครั่งและจะทำให้ครั่งเป็นที่รู้จักและนำไปใช้ประโยชน์ ได้มากขึ้น ผู้จัดมีความสนใจในเรื่องนี้อย่างมากจึงทำการศึกษาสมบัติทางไฟฟ้าของ เรซินโดยขั้นตอนการทดลองแบ่งออกเป็น 3 ตอนได้แก่ ตอนที่ 1 สกัดเรซินจากครั่ง ตอนที่ 2 ทดสอบการไหลของกระแสไฟฟ้าจากโพลีเอสเทอร์เรซินแบบเหลวไปยังโพลีเอสเทอร์เรซินตอนแข็งตัว และตอนที่ 3 รีเจอเนอเรชันของโพลีเอสเทอร์เรซินตอนแข็งตัวแล้วด้วยไอออนอิสระให้กลับมาเป็นโพลีเอสเทอร์เรซินแบบเหลว การไหลของกระแสไฟฟ้าในโพลีเอสเทอร์เรซินแบบเหลวไปยังโพลีเอสเทอร์เรซินแบบแข็งตัวที่ผู้จัดทำต้องการศึกษาจึงถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมากในด้านการเทคโนโลยีและวิศวกรรมทางไฟฟ้า และเป็นการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด