ประสิทธิภาพการเลี้ยงหม่อนไหมให้มีคุณภาพโดยอ้างอิงจากสูตรท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

เยาวนาฎ บรรดาดี, ประภาศิริ ศรีระเริญ, นภัสวรรณ โพธิ์กระสังข์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

กิจวิภู เรืองศรี

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนรร.ขุนหาญวิทยาสรรค์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2561

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานเรื่อง ประสิทธิภาพในการเลี้ยงหม่อนไหมให้มีคุณภาพโดยอ้างอิงจากสูตรท้องถิ่นให้มีประโยชน์ มีวัตถุประสงค์ คือ ๑)เพื่อศึกษาวิธีของการเลี้ยงไหม ๒)เพื่อศึกษาผลิตภัณฑ์ที่ได้จากหนอนไหม ซึ่งขอบเขตของการศึกษาจะศึกษาจากหนังสือความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม หนังสือสารานุกรมไทย ฉบับเยาวชน แหล่งเรียนรู้ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และสื่อออนไลน์ การเลี้ยงหนอนไหม ผลการศึกษาพบว่า ต้นหม่อน เป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่งที่มีรูปร่างเป็นไม้ทรงพุ่ม เป็นพืชยืนต้น ใบหม่อนเป็นอาหารที่ดีที่สุดของหนอนไหม ผลผลิตเส้นไหมจะมีคุณภาพดีหรือไม่ ผลผลิตต่อไร่จะมากหรือน้อย คุณภาพของใบหม่อนมีส่วนสัมพันธ์โดยตรง รวมทั้งกระบวนการบริหารจัดการแปลงหม่อนเพื่อการใช้ประโยชน์สูงสุดด้วย ไหม คือ เส้นใยจากรังไหมผีเสื้อชนิด Bombyx mori ในวงศ์ Bombycidae ผีเสื้อชนิดนี้อ้วนป้อม มีขนขาวและสีครีมคลุมเต็มตัว ปีกมีลายเส้นสีน้ำตาลอ่อนหลายเส้นพาดตามแนวขวาง เมื่ออยู่ในช่วงวัยอ่อนจะเป็นตัวหนอนสีขาวหรือครีม มีรยางค์เล็ก ๆ สั้น ๆ คล้ายขาที่ปลายหาง หนอนไหมที่เลี้ยงกันในประเทศไทยกินใบหม่อนเป็นอาหาร เมื่อหนอนโตเต็มที่จะถักใยหุ้มดักแด้เพื่อฟักตัวเป็นผีเสื้อ ในช่วงนี้สามารถนำมาต้มเพื่อสาวเส้นใยออกมาทอเป็นผืนผ้าได้ เกิดเป็นลวดลายต่างๆที่มีความสวยงาม และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวไทย