การศึกษาและพัฒนาเจลประคบร้อนเย็นด้วยคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสที่สังเคราะห์จากต้นกกรังกา
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
จอมสุดา นาคใหญ่, ชญานนท์ นามพิกุล, กัญญารัตน์ ใยดี
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
น้ำทิพย์ ศรีแก้ว
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานเรื่องการศึกษาและพัฒนาเจลประคบร้อนเย็นด้วยคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสที่สังเคราะห์จาก ต้นกกรังกา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาเจลประคบร้อนเย็นด้วยคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสที่สังเคราะห์จากต้นกกรังกา โดยแบ่งกระบวนการทดลองเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การสกัดเซลลูโลสจากต้นกกรังกา 2) การสังเคราะห์สารคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส 3) การเตรียมไฮโดรเจลระบบสามองค์ประกอบแบบเชื่อมโยงสองกลไก และ 4) การทดสอบประสิทธิภาพของไฮโดรเจล จากการศึกษาพบว่า เมื่อนำต้นกกรังกามาใช้ในการสกัดเซลลูโลส โดยต้นกกรังกา 180 กรัม สามารถสกัดเซลลูโลสได้ 87.4 กรัม คิดเป็นผลผลิตร้อยละ (% yeild) 48.56 จากการนำผงเซลลูโลสมาใช้ในการสังเคราะห์สาร คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส โดยผงเซลลูโลส 22 กรัม สามารถสังเคราะห์สารคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสได้ 18.44 กรัม คิดเป็นผลผลิตร้อยละ (% yeild) 83.81 และจากการนำคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสมาใช้ในการสังเคราะห์ไฮโดรเจล โดย คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส 60 กรัม สามารถสังเคราะห์ไฮโดรเจลได้ 25.50 กรัม คิดเป็นผลผลิตร้อยละ (% yeild) 42.50 ในการทดสอบประสิทธิภาพการบวมตัวในน้ำกลั่น พบว่าไฮโดรเจลสังเคราะห์มีอัตราการบวมตัวในน้ำกลั่นสูงกว่า ไฮโดรเจลที่สังเคราะห์จากต้นกกรังกา เมื่อนําไฮโดรเจลไปแช่ในที่อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส จะเห็นได้ว่า ไฮโดรเจลด้วยคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสที่สังเคราะห์จากต้นกกรังกามีอัตราการเก็บรักษาอุณหภูมิได้ดีกว่าไฮโดรเจลที่พบตามท้องตลาดแต่เก็บรักษาอุณหภูมิได้น้อยกว่าไฮโดรเจลที่สังเคราะห์เพียงเล็กน้อย และเมื่อนําไฮโดรเจลไปแช่ที่อุณหภูมิ 65 องศาเซลเซียส พบว่า ไฮโดรเจลด้วยคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสที่สังเคราะห์จากต้นกกรังกาเก็บรักษาอุณหภูมิได้ดีที่สุด จากนั้นคือไฮโดรเจลสังเคราะห์และไฮโดรเจลที่พบตามท้องตลาด ตามลําดับ