การพัฒนากระดาษห่อผลไม้จากเส้นใยใบสัปปะรดผสมน้้ามันหอมระเหยไล่แมลงวันทอง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พิชญธิดา เนื่องหล้า, อังศุชวาล เพียรทำดี, ชนิสรา คลังดงเค็ง

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

จิรวัฒน์ วโรภาษ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2564

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ประเทศไทยส่วนใหญ่ผู้คนประกอบอาชีพเกษตรกรรม มักพบเจอกับปัญหาเกี่ยวกับแมลงศัตรูพืช โดยเฉพาะแมลงวันทองที่มักจะเจาะผลไม้ ทำให้เป็นรู ผลเละ เน่าเสีย และร่วงหล่น ซึ่งปัญหาเหล่านี้มักเกิดขึ้นกับผลไม้คือมะม่วง มะม่วงเป็นผลไม้เศรษฐกิจของประเทศไทย ดังนั้นเราจึงต้องการแก้ปัญหาการทำลายของแมลงวันทองที่ส่งผลกระทบต่อมะม่วง โดยการทำกระดาษห่อผลไม้ที่ได้จากการแยกเส้นใยของใบสับปะรด เพื่อทำให้กระดาษมีความหนาและทนทานมากขึ้น และเพื่อคุณสมบัติให้สามารถไล่แมลงได้โดยการใส่ส่วนผสมจากการสกัดน้ำมันหอมระเหยที่ได้จากเปลือกส้มหรือตะไคร้หอม โดยเปลือกส้มมีน้ำมันหอมระเหยไม่ว่าจะเป็น P-Cymene,B-Pinene,Ocimene,Citral ที่ช่วยไล่แมลง และตะไคร้มีสารประกอบที่สำคัญคือ Camphor,Cineol,Eugenol,Citral,Linalool และ Geraniol ทดสอบประสิทธิภาพด้วยการทดลองในกล่องจำนวน 2 การทดลอง การทดลองที่ 1 จะเป็นการทดลองเพื่อทดสอบประสิทธิภาพกระดาษซึ่งจะทำเป็น 3 ชุดการทดลอง โดยใช้สาร Methyl eugenol เคลือบผิวมะม่วง และใช้กระดาษจากเส้นใยใบสัปปะรดที่ผสมน้ำมันหอมระเหยในชุดการทดลองที่ 1 เทียบกับกระดาษแบบปกติในชุดการทดลองที่ 2 และไม่ห่อกระดาษเลยในชุดการทดลองที่ 3 นำแมลงวันทองเพศเมียตัวเต็มวัย อายุ 12-14 วัน จำนวน20-25ตัว ปล่อยในกล่องเป็นเวลา 3 ชม. และสังเกตผลมะม่วงหลังจากการทดลอง การทดลองที่ 2 เป็นการทดลองเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของการไล่แมลงโดยทำทั้งหมด 4 ชุดการทดลองแต่ละชุดจะมีกล่องสองกล่องเจาะรูขนาดพอดีที่สามารถม้วนกระดาษสอดเป็นท่อเชื่อมกันได้ กล่องฝั่งหนึ่งใส่แมลงวันทองเพศเมียตัวเต็มวัย อายุ 12-14 วัน จำนวน20-25ตัว อีกฝั่งจะใช้สาร Methyl eugenol เพื่อล่อแมลง โดยกระดาษที่ใช้เชื่อมจะแตกต่างกันไปในแต่ละการทดลอง คือกระดาษที่ผสมน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้ม,ตะไคร้,กระดาษที่มีลูกเหม็นด้านในและกระดาษทั่วไป โดยทดลองเป็นเวลา 3 ชั่วโมง สังเกตแมลงที่สามารถผ่านท่อไปยังอีกกล่องได้