แผ่นลอกสิวเสี้ยนจากวัสดุชีวภาพ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พรรณอร จำนงค์ทอง, ติณญลีนห์ พรหมเจริญ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สิตานันท์ พุ่มแก้ว, โสภา เชี่ยวชาญวุฒิวงศ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันคนส่วนใหญ่โดยเฉพาะวัยรุ่นมักเกิดปัญหาสิวบนใบหน้า ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนในร่างกาย หรือการดูแลรักษาความสะอาดผิวไม่เพียงพอ ผู้คนส่วนใหญ่จึงหันไปใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารเคมี ดังนั้นผู้วิจัยสนใจศึกษา แผ่นลอกสิวเสี้ยนจากวัสดุชีวภาพฟิล์มไคโตซาน ผสมสารสกัดจากเปลือกมังคุด และกลิ่นหอมจากดอกมะลิ เพื่อให้ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์เกิดความผ่อนคลาย ซึ่งวัตถุประสงค์หลักของโครงงานคือ การเตรียมแผ่นลอกสิวเสี้ยนจากไคโตซาน โดยมีขั้นตอนการดำเนินการทดลองดังนี้คือ การเตรียมแผ่นฟิล์มไคโตซาน การทดสอบความทนต่อแรงดึง การทดสอบสมบัติการลอกติดด้วยวิธี T-peeling test, การทดสอบการบวมตัว การตรวจวิเคราะห์ด้วยเทคนิค Fourier Transform Infrared Spectrophotomet (FTIR), การตรวจดูสัณฐานวิทยาด้วยเครื่อง Scanning Electron Microscope (SEM) การทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อ Staphylococcus aureus และ Escherichia coli การทดสอบการแพ้ด้วยวิธี Patch Test และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ซึ่งแผ่นลอกสิวเสี้ยนจากวัสดุชีวภาพนี้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถช่วยแก้ปัญหาสิวเสี้ยน ลดการเกิดสิว และลดการอักเสบของสิว