การศึกษาพฤติกรรมการเลือกกินอาหารสีต่างๆจากธรรมชาติที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลูกปูม้า
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐกฤตา เยื่อปุย, ชุติกาญจน์ เต็กเกล็ด
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ชัยยศ นุ่มกลิ่น
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
จากการศึกษาวิจัยปริมาณของไมโครพลาสติกในปูม้าบริเวณนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด อำเภอเมืองระยองจังหวัดระยอง จากการรายงานการทดลองข้างต้นของวิจัยที่อ้างอิงมานี้ ได้มีการรายงานเกี่ยวกับผลการทดลองการนำกระเพาะของปูม้ามาสกัดด้วยสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ความเข้มข้น 30% สิ่งที่พบคือไมโครพลาสติกโดยพบสีน้ำเงินของไมโครพลาสติกเป็นจำนวนมากที่สุดคือสีน้ำเงิน (31.5%) และสีส้มต่ำสุด (1.7%)
ดังนั้นจากการรายงานดังกล่าวทำให้คณะผู้จัดทำเล็งเห็นถึงปัจจัยหนึ่งจากการวิจัยคือ สีของไมโครพลาสติกที่มีความแตกต่างกันจากการรับประทานของปูม้า เพราะฉะนั้นคณะผู้จัดทำจึงเกิดความสนใจที่จะต่อยอดและทำโครงงานนี้ โดยมีการศึกษาพฤติกรรมของปูม้าจากการทดลองโดยการเปรียบเทียบพฤติกรรมการกินของปูม้ากับอาหารในแต่ละสี (สีธรรมชาติ) เพื่อเป็นการต่อยอดทางการค้าและสัตว์น้ำเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคต อีกทั้งยัง เพื่อศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมการเลือกกินของปูม้า เพื่อศึกษาการกระตุ้นของสีอาหารที่ส่งผลต่อการเจริญของปูม้า
จากทีกล่าวมาข้างต้นมีการทำการทดลองโดยแบ่งกะละมังเป็น 5 ส่วนส่วนที่ 1 ใส่อาหารสีน้ำเงิน ส่วนที่ 2 ใส่อาหารสีดำ ส่วนที่ 3 ใส่อาหารสีเหลือง
ส่วนที่ 4 ใส่อาหารที่ไม่มีสี ส่วนที่ 5 จุดในการปล่อยปูม้า 10 ตัว เเละเป็นจุดที่จะมีแผ่นพลาสติกใสมากั้นเนื่องจากไม่ให้ปูเดินไปทั่ว ในการทำการทดลองนำพลาสติกกั้นในส่วนที่ 5 ออก เเละ ทิ้งไว้ 1 วันเพื่อสังเกตทิศทางการเดินไปยังอาหารสีต่างๆ ของปูม้าทำการทดลองซ้ำทั้งหมด 3 ครั้งเเบ่ง เป็นตอนที่ 1 2 3 ตามลำดับ
ทำการทดลองให้อาหารบูกปูม้าเเต่ละสีตามกะละมังเป็นเวลา 3 เดือนโดยทำการบันทึกผลการทดลองทุกๆ 2 อาทิตย์โดยผลการทดลองมาจากน้ำหนักของปูม้าที่ปรากฎบนเครื่องชั่งสังเกตเเละบันทึกผลลงดังตาราง