การขึ้นรูปแผ่นฟิล์มพลาสติกด้วยวิธีการสกัดไคโตซานจากเกล็ดปลานิล
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
นารีรัตน์ เนาว์ประโคน, ณัฐริญา พรหมบุตร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วัชราภรณ์ แสนนา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันปัญหาด้านมลพิษถือเป็นภาวะเร่งด่วนที่ต้องได้รับการแก้ไข การเกิดปัญหาทางด้านมลพิษทั้งทางน้ำ ทางดิน และทางอากาศส่วนมาเกิดมาจากขยะ ซึ่งขยะประเภทพลาสติกถือเป็นกลุ่มของขยะอันดับต้น ๆ ที่ก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับมลพิษเนื่องจากความต้องการใช้วัสดุประเภทพลาสติกสูงประกอบกับพลาสติกมีระยะเวลาในการย่อยสลายนานถึง 400-500 ปี ทำให้มีปริมาณขยะประเภทนี้เพิ่มมากขึ้นทุกปีจากข้อมูลทางสถิติพบว่าปัจจุบันมีขยะประเภทนี้ในประเทศไทยมากกว่า 27.93 ตัน (วราวุธ ศิลปะอาชา, 2563) นอกจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ได้กล่าวมากลุ่มพลาสติกเมื่อลงสู่ระบบนิเวศน์และสัตว์กินพลาสติกเข้าไปก็ ก่อส่งผลให้สัตว์เหล่านั่นตายไปในที่สุด ถึงแม้ปัจจุบันนี้จะมีการผลิตพลาสติกชีวภาพมาใช้ทดแทน มีการรณรงค์ลดการใช้พลาสติก แต่ปัญหาเหล่านี้ก็ยังไม่ลดลง เนื่องด้วยคุณสมบัติของพลาสติกสังเคราะห์ที่มีความเหนียวแข็งแรง ทนทาน และราคาที่ค่อนข้างถูก ดังนั้นการพัฒนาพลาสติกทางเลือกจึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจในการศึกษาเพื่อศึกษาการพัฒนาพลาสติกชีวภาพที่มีคุณภาพ และนำนวัตกรรมดังกล่าวมาใช้ทดแทนอย่างเร่งด่วน เกล็ดปลานิลมีลักษณะกลมหรือยาวรีผิวขรุขระ และมีไคติน ไคโตซาน เป็นองค์ระกอบ และเมื่อตากแห้งจะมีความโปร่งใสด้วยคุณสมบัติเหล่านี้จึงมีแนวคิดในการนำเกล็ดปลานิลมา recycle เพื่อขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์มพลาสติกที่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายด้วยตัวเองได้ในระยะเวลาอันสั้น โดยทำการสกัดไคโตซาน และนำมากำจัดโปรตีนในสารละลายด่างอ่อน(Deproteinization) แล้วปรับด้วยกรดจนมีค่า pH เป็นกลาง ขั้นตอนต่อมาทำการกำจัดแร่ธาตุ (Demineralization) ในสารละลายกรดอ่อน ปรับดจนมีค่า pH เป็นกลาง ซึ่งจะทำให้ได้ ไคติน นำไคตินที่ได้มาทำการกำจัดหมู่อะซีทิล (Deacetylation) ในสารละลายด่างเข้มข้นแล้วปรับด้วยกรดจนมีค่า pH เป็นกลาง ซึ่งจะทำให้ได้ไคโตซาน และประยุกต์ใช้ไคโตซานในการขึ้นรูปเป็นแผ่นฟิล์ม นำแผ่นฟิมล์พลาสติกที่ได้ไปทดสอบประสิทธิภาพด้านความยืดหยุ่น และทดสอบการย่อยสลายของแผ่นฟิล์ม