เซลลูโลสไฮโดรเจลจากมูลช้างและประสิทธิภาพในการต้านจุลชีพ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

อรกมล ชาวบ้านเกาะ, กุลนันท์ ยางสูง, ทิพย์ผกา ณ สงขลา

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

รัชฎา บุญเต็ม

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้ได้ศึกษาเซลลูโลสไฮโดรเจลจากมูลช้างและประสิทธิภาพในการต้านจุลชีพ เริ่มต้นด้วยการสกัดเซลลูโลสจากมูลช้าง โดยใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เพื่อกำจัดเฮมิเซลลูโลสและลิกนิน โดยเซลลูโลสที่ได้จากการสกัดมี yield เท่ากับ 61.912 % นำเซลลูโลสที่ได้ไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิค IR spectroscopy และ Scanning Electron Microscopy (SEM) โดย IR spectrum แสดงแถบการดูดกลืนแสงที่เป็นลักษณะจำเพาะของเซลลูโลส เตรียมเซลลูโลสไฮโดรเจลโดยใช้ระบบตัวทำละลายไดเมทิลอะซีตาไมด์ (DMAc) /ลิเทียมคลอไรด์ (LiCl) แล้วนำไฮโดรเจลที่ได้ไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิค IR spectroscopy (IR) และ Scanning Electron Microscopy (SEM) นอกจากนี้ยังได้นำไฮโดรเจลไปศึกษาความสามารถในการกักเก็บน้ำ โดยนำเซลลูโลสไฮโดรเจลที่อิ่มตัวด้วยน้ำ (3 ชิ้น) ไปอบที่ 60ºC ชั่งน้ำหนักของไฮโดรเจลก่อนและหลังการอบ แล้วนำมาคำนวณหาความสามารถในการกักเก็บน้ำของตัวอย่างเซลลูโลไฮโดรเจลได้ 94.76 (2.19) % และเจลแห้งมีเส้นผ่านศูนย์กลางลดลง 36-48 % นำเซลลูโลสไฮโดรเจลที่เป็นแผ่นกลมมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร และความหนา 0.5 เซนติเมตร ไปดูดซับสารสกัดสมุนไพร (ใช้เอทานอลเป็นตัวสกัด) ที่มีฤทธิ์ในการต้านจุลชีพ เช่น ขมิ้นชัน (Curcuma longa L.), ไพล (Zingibermontanum (Koenig ) Link ex Dietr.), ขิง (Zingiber officinale Roscoe) และ บัวบก (Centella asiatica) เป็นต้น พบว่าเซลลูโลสไฮโดรเจลที่แช่ในสารสกัดจากขมิ้นชันมีเส้นผ่านศูนย์กลางลดลง 45-55% และ มีความหนาลดลง 50-67 %