การศึกษาและทดสอบประสิทธิภาพพลาสติกชีวภาพจากเซลลูโลสที่สกัดจากหญ้าคา

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

สุชานุช ปราบริปู, กนกวรรณ พรมเมศร์, ณัฐธีรา สัจจะนรพันธ์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ประภาพรรณ จันตา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

หญ้าคา เป็นวัชพืชที่ชอบแสงแดดและมีความทนทานสูงมาก เผากำจัดหรือทำลายได้ยาก จึงกลายเป็นวัชพืชที่ลุกลามไปตามท้องไร่หรือพื้นที่ต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นวัชพืชที่แย่งธาตุอาหารและน้ำกับพืชชนิดอื่น และยังปลดปล่อยสารธรรมชาติบางชนิดที่มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของพืชชนิดอื่นๆคณะผู้จัดทำจึงนำหญ้าคาไปสกัดเซลลูโลส โดยการล้างด้วยสารละลายคลอรีนความเข้มข้น 500 พีพีเอ็ม เป็นเวลา 5 นาที อบแห้งแล้วบดด้วยแล้วร่อนจากนั้นนำไปผสมกับสารละลายด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์(NaOH)ความเข้มข้น10% (w/v) ที่อัตราส่วนเยื่อต่อสารละลายด่าง 1:10 (w/v) ที่อุณหภูมิ80 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง หลังจากนั้นกรองเยื่อแล้วล้างด้วยน้ำกลั่น แล้วนำไปอบแห้งในเตาอบที่ 60 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12 ชั่วโมงและกำจัดลิกนินด้วยสารละลาย NaClO2 ความเข้มข้น 1.0% (w/v) โดยใช้น้ำหนักของเยื่อต่อสารละลายในอัตราส่วน 1:30 (w/v) ที่อุณหภูมิ75 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมงกรองเยื่อและล้างด้วยน้ำ แล้วสังเคราะห์สารคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสโดยการ เติมเอทานอล 95% ลงในเยื่อเซลลูโลส อัตาส่วน 20:1 จากนั้นเติมสารละลาย NaOH ความเข้มข้น 45% 400 มิลลิตร กวนให้เข้ากัน 30 นาที ที่ 60 องศาเซลเซียส เติมกรดโมโนคลอโรแอซิติก 200 มิลลิลิตร กวนให้เข้ากัน 70 นาที 60 องศาเซลเซียส ทำให้สารบริสุทธิ์ด้วยเอทานอล 95% โดยวิธี Soxhlet extration 4 ชั่วโมง นำซีเอ็มซีที่สังเคราะห์ได้ไปอบแห้งที่ 80 องศาเซลเซียสเพื่อผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพ โดยนำผงซีเอ็มซี 1, 2, 3, และ 4 กรัม เติมกลีเซอรอล และเติมน้ำกลั่นปริมาตร 100 มิลลิลิตร ให้ความร้อนที่อุณหภูมิ 80-90 องศาเซลเซียส กวนให้เข้ากัน เทใส่จานเพาะเชื้อแล้วนำไปอบทำการขึ้นรูปซ้ำโดยใช้เความเข้มข้นของกลีเซอรอลเป็น 25% 35% 45% 55% 65% และนำพลาสติกชีวภาพที่ได้มาทดสอบประสิทธิภาพโดยทดสอบความแข็ง ทดสอบแรงดึง และทดสอบการดูดซับน้ำ