ผลของไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ที่สกัดได้จากเปลือกกุ้งกุลาดำต่อการเจริญเติบโตของผักบุ้งจีน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

วารีรัตน์ คะประสิทธิ์, ณัฐวดี ชูรังสฤษฎิ์, ปัณฐิตา พรมเสนะ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

เฉลิมพร พงศ์ธีระวรรณ

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2560

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ หรือ COS คือสายน้ำตาลที่เกิดจากการย่อยสลายไคติน และ ไคโตซาน ด้วยปฏิกิริยาเคมีโดยใช้กรด ซึ่งมีคุณสมบัติโดดเด่น คือ สามารถละลายน้ำได้ และมีประสิทธิภาพในการดูดซึมได้มากกว่า ไคโตซาน ดังนั้น คอซจึงมีมูลค่าสูงกว่า ไคติน และ ไคโตซานมาก ในการทดลองศึกษาวิธีการสกัดCOSจากเปลือกกุ้งกุลาดำ โดยเริ่มจากการสกัดไคโตซานจากไคตินที่ได้จากเปลือกกุ้งกุลาดำและเปลี่ยนโครงสร้างของไคโตซานเป็นไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ โดยมีวิธีการสกัดคือ Demineralization ด้วยกรดไฮโดรคลอริกที่มีความเข้มข้นต่างกัน และพบว่ากรดไฮโดรคลอริกเข้มข้น 2% สามารถเกิดปฎิกิริยาได้ดี ต่อมาทำการ Deproteination ด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่มีความเข้มข้นต่างกัน และพบว่าโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 6% จะมีมวลของไคตินสูงสุดคือ 17.7 g. /100 g. และหลังจากนั้นนำมากำจัดสีด้วยเอทานอล 95% แล้วกำจัดหมู่อะซิทิลด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ที่มีความเข้มข้นต่างกัน และพบว่าโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 40% จะมีมวลของไคโตซานสูงสุดคือ 19.0g. /100 g. เมื่อได้ไคโตซานแล้วนำมาเปลี่ยนโครงสร้างให้เป็นไคโตโอลิโกแซคคาไรด์โดยการ Hydrolysis สายพันธะของไคโตซานให้มีความยาวสายสั้นลง คุณสมบัติของไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ที่สกัดได้คือละลายน้ำได้ดี แต่ไคโตซานไม่สามารถละลายน้ำได้ และเมื่อนำไปทดสอบผลต่อพืชพบว่าสามารถเร่งอัตราการงอกรากของผักบุ้งจีนให้งอกในเวลา 3 วัน งอก100% และมีการเจริญของใบได้เร็วในเวลา4วัน และยังมีความสามารถในการยับยั้งโรคสนิมขาวในใบของผักบุ้งจีนได้ และมีผลทำให้ผักบุ้งเจริญเติบโตได้ดีมีน้ำหนักมากกว่าต้นผักบุ้งจีนที่ไม่ใช้สารไคโตโอลิโกแซคคาไรด์ในการเร่งการเจริญเติบโต