แผ่นกันกระแทกจากใยธูปฤาษี
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐเบญจภัค คณินนันธนัฐ, ศุภกฤต สีสิงห์, กรรณิการ์ ภูจันหา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ธันยพร ป้องกัน
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ธูปฤๅษีจัดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่เข้ามาแพร่ระบาดรุกรานจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบนิเวศในประเทศไทย มีเขตการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยทั่วทุกภาค พบในที่ลุ่มทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ในปัจจุบันมีผู้หันมาสนใจศึกษา และหาวิธีจัดการกับต้นธูปฤาษีให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยนำไปผลิตเป็นแผ่นผนังในอาคาร ผลิตเป็นถ่านอัดแท่ง หรือใช้ในการบำบัดน้ำเสียนอกจากนี้ต้นธูปฤาษียังสมารถอัดขึ้นรูปเป็นแผ่นไม้อัด และประยุกต์ใช้เป็นวัสดุตกแต่งบ้านหรือส่วนประกอบของเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ได้ ดังนั้นการนำเส้นใยจากต้นธูปฤาษีมาผลิตเป็นแผนกันกระแทกจึงเป็นอีกทางหนึ่งที่น่าสนใจ เนื่องจากย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โครงงานนี้ศึกษาเกี่ยวกับการแยกเส้นใยและผลิตแผ่นกันกระแทกจากต้นธูปฤาษี โดยแยกเส้นใยด้วยวิธีทางเคมี ตัวแปรในการศึกษา คือ ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ เวลาในการต้มแยกเส้นใย และการขึ้นรูปแผ่นเส้นใยด้วยน้ำยางพาราเข้มข้น 100 เปอร์เซ็นต์ อบที่อุณหภูมิ 100
องศาเซลเซียส จากนั้นทดสอบสมบัติทางกายภาพของแผ่นเส้นใย ได้แก่ ความหนา น้ำหนักต่อหน่วยพื้นที่
ความต้านทานแรงดันทะลุ และความคงทนต่อแรงฉีกขาด และภาวะที่เหมาะสมในการแยกเส้นใย