การศึกษาประสิทธิภาพสารสกัดจากดอกอัญชันเพื่อบำบัดโรคพาร์กินสันในสัตว์ทดลอง C.elegans
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปารมี ดูแก้ว
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
สายใย ไชยวัณณ์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โรคพาร์กินสัน (Parkinson disease) ถือเป็นโรคความเสื่อมของระบบประสาทที่พบบ่อยที่สุดโรคหนึ่งในผู้สูงอายุ สถิติผู้ป่วยเป็นโรคพาร์กินสันทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 7 ถึง 10 ล้านคน โรคพาร์กินสันมีความสำคัญต่อสังคมผู้สูงอายุของไทยเพราะเป็นโรคที่ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย เกิดภาวะทุพพลภาพ เพิ่มอัตราการเสียชีวิต และยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลอีกด้วย โดยโรคพาร์กินสันมีสาเหตุมาจากการเสื่อมสภาพและสูญเสียเซลล์ประสาท dopaminergic neuron ที่สร้างสารสื่อประสาท dopamine ซี่งเป็นสารสื่อประสาทที่มีหน้าที่ในการควบคุมเคลื่อนไหว การควบคุมอารมณ์ และการเรียบเรียบความคิด ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาให้หายขาด ผู้จัดทำจึงมีความสนใจที่จะนำสารสกัดจากดอกอัญชัน (Clitoria ternatea Linn.) ซึ่งเป็นพืชพบได้ทั่วไปหาได้ง่าย มีสรรพคุณหลากหลายด้านทั้งฤทธิ์ต้านเบาหวาน ต้านการอักเสบและแก้ปวด หรือการใช้ประโยชน์ด้านเวชสำอาง เนื่องด้วยอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ และที่สำคัญดอกอัญชันมีฤทธิ์กระตุ้นการเรียนรู้ ความจำ และระบบประสาท ผู้จัดทำจึงมีความคาดหวังว่าสารสกัดจากดอกอัญชันสามารถนำมาใช้เพื่อบำบัดและช่วยชะลออาการของผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นโดยเฉพาะปัญหาด้านการเคลื่อนไหวอีกทั้งลดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้น เพิ่มคุณค่าและศักยภาพของดอกอัญชันเพื่อพัฒนาไปสู่ยาในการรักษาโรคพาร์กินสันหรือโรคทางระบบประสาทอื่น ๆ ในอนาคต