แผ่นปลูกผักเพื่อเพิ่มพื้นที่หลังคาสีเขียว

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

วิศววิท ชาวเชื้อ, กานต์ธิดา เลิศคอนสาร

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

สายใย ไชยวัณณ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในปัจจุบัน มีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากต้นไม้บนโลกที่ลดลง ส่งผลให้หลายพื้นที่มีอุณหภูมิสูงขึ้น จังหวัดเชียงใหม่เป็นหนึ่งในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ แนวทางแก้ไขอีกทางหนึ่ง คือ ปลูกต้นไม้เพื่อทดแทนต้นที่เสียไป ในพื้นที่ตัวเมืองการปลูกพืชบนหลังคาของตึกหรืออาคาร เป็นวิธีที่สามารถทำได้ดีที่สุด โดยกำหนดชนิดพืชที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ปลูก ซึ่งจะต้องคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใช้พื้นที่ปลูกบนหลังคา เช่น การคำนวณน้ำหนักดินที่ต้องใช้ปลูกพืชเพื่อป้องการทรุดตัวของอาคาร เป็นต้น จึงคิดค้น แผ่นปลูกผักเพื่อเพิ่มพื้นที่หลังคาสีเขียว โดยผลิตแผ่นปลูกผักจากวัสดุที่หาได้ง่ายภายในชุมชน ผู้จัดทำเลือกนำชานอ้อยมาผสมกับเจลาตินในอัตราส่วนที่เหมาะสม โดยปั่นชานอ้อยให้มีความละเอียดและนำเจลาตินมาผสมให้เข้ากันอย่างละเอียด และนำไปขึ้นรูปเป็นแผ่นปลูกพืชตามที่วางแผนไว้ โดยมีความกว้าง 15 เซนติเมตร ความยาว 30 เซนติเมตร และความลึก 10 เซนติเมตร ขึ้นรูปโดยทำให้เป็นหลุมตื้น ๆ ในระหว่างที่ขึ้นรูปแผ่นปลูกพืช ก่อนที่เจลาตินจะเย็นตัวนำเมล็ดดินเผามาแทรกเพื่อทำเป็นชั้นกักเก็บความชื้น เมื่อได้แผ่นปลูกพืชแล้วจึงทำการศึกษาโดยนำไปทดสอบโดยทำเป็นอนุบาลต้นกล้าเพื่อความรวดเร็วในการทดสอบ ซึ่งพืชที่ต้องการแสงแดดตลอดทั้งวันและมีขนาดต้นที่เหมาะสมกับขนาดของแผ่นปลูกพืช ในที่นี้ผู้จัดทำจึงทำการทดลองปลูกต้นอ่อนผักบุ้งจีน และบันทึกค่าของความชื้น และอุณภูมิพื้นผิวที่ปลูกเพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงแก้ไขสูตรให้มีประสิทธิภาพต่อการใช้งานมากที่สุด