การเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการย่อยสลายกากไขมันโดยใช้สารเร่งพด.2 สารเร่ง พด.6 และ EM2 ในบ่อบําบัดไขมันของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ชญาดา รักษ์ศิริ, ศุภจิรา พันธ์มหา

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ประจักษ์ เกษมรักษ์

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

บ่อดักไขมัน คือ อุปกรณ์สําหรับแยกไขมันไม่ให้ไหลปนไปกับน้ําทิ้ง ช่วยรักษาสภาพน้ําขั้นต้นก่อนปล่อย ลงสู่ แหล่งน้ําธรรมชาติ การจัดการไขมันในน้ําเสียโดยการใช้บ่อดักไขมันเป็นวิธีที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพใน การบําบัด น้ําเสีย เช่น ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี ต้องใช้งบประมาณจํานวนมากในการจ้างรถ บริการดูดสิ่งปฏิกูลมากําจัดกากไขมันที่แข็งตัวแล้ว การทิ้งระยะ เวลานาน 6 เดือนในการกําจัดไขมัน 1 ครั้งทําให้ไขมัน เกิดการแข็งตัวและกลิ่นไม่พึงประสงค์ส่งผลให้เกิดความ ยุ่งยากในการกําจัดเพิ่มมากขึ้น ทางคณะผู้จัดทําจึงคิดที่จะ กําจัดกากไขมันด้วยจุลินทรีย์เพื่อที่ไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และทางคณะผู้จัดทําเล็งเห็นถึงปัญหาว่าถ้าใช้จุลินทรีย์ จากการเลี้ยงขึ้นมาในห้องแลปทดลองจะนําไปใช้ในชีวิตจริงได้ค่อนข้างยุ่งยากจึงคิดที่จะนําจุลินทรีย์จากผลิตภัณฑ์ที่มี อยู่แล้วมาประยุกต์ใช้ ทางคณะผู้จัดทําจึงจะนําผลิตภัณฑ์ที่คาดว่าน่าจะย่อยสลายกากไขมันได้มาประยุกต์ใช้ เช่น สาร เร่งซุปเปอร์ 2 ,สารเร่งซุปเปอร์ 6 และ EM2 ที่มีคุณสมบัติที่คาดว่าน่าจะย่อยสลายกากไขมันที่เริ่มแข็งตัวแล้วได้ พวกเราจะนํามาทดลองเพื่อหาประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในความเข้มข้นต่างๆของแต่ล่ะสาร และพวกเราจะทดสอบค่าต่างๆที่ อาจจะส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อวัดว่าการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อย่อยสลายกากไขมันไม่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม