การเปรียบเทียบการใช้สารสกัดไคโตซานจากเปลือกหอยสามสายพันธุ์เพื่อพัฒนาการบำบัดน้ำเสียจากผงซักฟอก

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

บารมินทร์ บูรพัฒนศิริ, ปุลวัชร ถวายชัย

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วารินาถ โขพิมาย

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในชุมชนมีที่ใช้ผงซักฟอกที่มีฟอสฟอรัสในรูปฟอสเฟตในการซักผ้ามาแล้วปล่อยลงสู่แหล่งน้ำทำให้กระทบต่อระบบนิเวศของสัตว์ในน้ำ ซึ่งในผงซักฟอกก็มีสารฟอสฟอรัสในรูปฟอสเฟตและสารลดแรงตึงผิวที่อยู่ในผงซักฟอกทำให้สิ่งสกปรกจับตัวและตกตะกอนอยู่ในน้ำ หนึ่งในวิธีการกำจัดฟอสฟอรัสในรูปฟอสเฟตคือการใช้เปลือกหอยเราจึงนำเปลือกหอย 3 ชนิดที่เก็บจากบริเวณบ้านและซื้อจากส่วนที่เป็นของเหลือจากร้านอาหารได้แก่ หอยโข่ง หอยขม และหอยเชอรี่ มาทดสอบซึ่งจริง ๆ แล้วในของเหลือทิ้งที่ไม่นิยมนำมาบริโภคเหล่านี้นั้น ยังคงมีองค์ประกอบสำคัญที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อยู่คือ ไคโตซานที่มีหมู่เอมีน ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวให้อิเล็กตรอน จึงสามารถทำปฏิกิริยากับโปรตีน สีย้อมผ้า และไอออน ของโลหะได้ มีการนำไคโตซานไปใช้ดูดซับสีย้อมผ้าในน้ำทิ้ง และใช้ในการดูดซับไอออนของโลหะ ดังนั้นผู้จัดทำจึงสนใจที่จะเปรียบเทียบการบำบัดน้ำเสียระหว่างเปลือกหอยทั้งสามสายพันธุ์เพื่อพัฒนาการอนุรักษ์น้ำ