การศึกษาเปรียบเทียบความเข้มข้นของฮอร์โมน Benzyladenine(BA) ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นมะเขือเทศโดยวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธนัญญภัทร พั่วงาม, ปฏิภาณ หงษ์ทอง, ทรรศธร ขวัญเพ็ง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วันเพ็ญ ทีฆาวงค์, เบญญพร พัฒน์เจริญ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เนื่องจากปัจจุบันมีการทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อจำหน่ายเป็นจำนวนมาก แต่การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อต้องใช้ระยะเวลานาน อย่างน้อย 1 เดือน ทำให้ผลผลิตไม่ได้ตามวันเวลาที่ต้องการ โครงงานนี้จึงมีจุดประสงค์คือ การลดระยะเวลาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ซึ่งพืชที่ใช้ในการทดลองคือ มะเขือเทศสีดา โดยแบ่งการทดลองเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่1 คือ การปรับความเข้มข้นของฮอร์โมน BA ซึ่งเป็นฮอร์โมนชักนำยอด ในแต่ละขวดโหลจะมีความเข้มข้นของฮอร์โมน BA ที่แตกต่างกันดังนี้ ขวดโหลที่1,2,3 และ 4 มีปริมาณความเข้มข้น 0,1,2 และ 3 มิลลิลิตร ตามลำดับ หลังจากนั้น จะทำการเปรียบเทียบระยะเวลาในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อว่าปริมาณความเข้มข้นใดสามารถลดเวลาในการเพาะเลี้ยงได้มากที่สุด และจะนำขวดโหลที่มีปริมาณความเข้มข้นเหมาะสม มาทดลองต่อในขั้นตอนที่2 คือ การนำมาเพาะพันธุ์ต่อในดินและเปรียบเทียบอัตราการเจริญเติบโตกับมะเขือเทศที่ปลูกในดินตั้งแต่ต้น โดยควบคุมปริมาณและชนิดของดิน ซึ่งชนิดของดินที่ใช้ในการทดลอง คือ ดินร่วนปนทราย ดินร่วน ดินร่วนปนดินเหนียว และควบคุมปริมาณน้ำที่ใช้ในการรดให้เท่ากัน ซึ่งผลที่ได้จะก่อให้เกิดผลประโยชน์ในด้านต่างๆ อาทิเช่น การสร้างรายได้ให้ครอบครัวจากการขายต้นเพาะเลี้ยง เป็นต้น