การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับโลหะหนักของ ซังข้าวโพด ต้นมันสำปะหลัง และ ต้นดาวเรือง

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัฐกมล กิตติขจร, แพรทิพย์ เกิดผิวดี

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

รัชนี อินทหอม

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัญหาการปนเปื้อนของโลหะหนักส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมหลายทางทั้งทางกายภาพและทางเคมีของสิ่งมีชีวิตที่อยู่บริเวณที่มีการปนเปื้อนของโลหะหนัก การปนเปื้อนโลหะหนักสู่สิ่งแวดล้อมได้หลายทาง แหล่งที่มาหลักๆ ของโลหะหนัก ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม การใช้สารกําจัดศัตรูพืช เนื่องจากโลหะหนักเป็นส่วนประกอบของโลหะประกอบหลายชนิด การทําเหมืองแร่ สารเคมีจากอุตสาหกรรมเกษตร น้ำทิ้งจากแหล่งชุมชน และวัสดุเหลือทิ้งต่างๆโลหะหนักในสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติจะอยู่ในรูปของตะกอนที่ไม่เคลื่อนที่และในสินแร่ โลหะหนักเหลานี้ไม่สามารถย่อยสลายทางชีวภาพ มลพิษที่เกิดจากการปลดปล่อยของโลหะหนักหากไม่ได้รับการบำบัดที่เหมาะสมแล้ว จะมีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญจากการสะสมในห่วงโซ่อาหาร

สิ่งมีชีวิตบางอย่างสูญหายไปจากบริเวณที่ปนเปื้อนเนื่องจากไม่สามารถทนต่อความเป็นพิษของโลหะหนักได้ นอกจากเป็นผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมแล้วยังส่งผลเป็นพิษต่อสิ่งหากได้รับโลหะหนักเกินค่ามาตราฐานที่กำหนดจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบร่างกาย รบกวนการทำงานของเอนไซม์ของเซลล์ เส้นทางที่ร่างกายของสิ่งมีชีวิตได้รับเข้าไป เช่น ทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหารผิวหนังของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศแหล่งน้ำที่มีการปนเปื้อนโลหะหนัก

ดังนั้นคณะผู้จัดทำได้สนใจปัญหารการปนเปื้อนของโลหะหนักในสิ่งแวดล้อม โดยการศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับโลหะหนัก คือ ทองแดง ตะกั่วและ สังกะสี โดยใช้ผลผลิตที่เหลือใช้จากการเกษตรในการศึกษาการดูดซับโลหะหนัก เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาข้อมูลและ เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมต่อไป