การศึกษาการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์มวนเขียวดูดไข่ cyrtorhinus lividipennis Reuter เพื่อควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล Nilaparvata Lugens
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
โยษิตา โฆษิตเกษม, รินรดา จริยารังษีโรจน์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นริศตา ด้วงต้อย, รณภณ เนตรสว่างวิชา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
การศึกษาการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์มวนเขียวดูดไข่ (cyrtorhinus lividipennis Reuter) เพื่อควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (Nilaparvata lugens (Stal)) มีวัตถุประสงค์การศึกษา 1) ศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยงที่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์มวนเขียวดูดไข่ ผลการศึกษา พบว่า วิธีการเพาะเลี้ยงที่เหมาะสมต่อการขยายพันธุ์มวนเขียวดูดไข่ คือ การเลี้ยงโดยใช้ภาชนะเลี้ยงเป็นกรงที่บุด้วยผ้ามุ้งไนลอน มีจำนวนมวนเขียวดูดไข่ เมื่อครบ 40 วัน ค่าเฉลี่ย 32.67ตัว คิดเป็นร้อยละ 326.7 มากกว่าการเลี้ยงด้วยกล่องพลาสติก เมื่อครบ 40 วัน ค่าเฉลี่ย 23.33 ตัว คิดเป็นร้อยละ 233.3 2) ศึกษาชนิดอาหารที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์มวนเขียวดูดไข่ ผลการศึกษาพบว่าชนิดอาหารเทียมที่เหมาะสมต่อการนำไปเป็นอาหารเสริมสำหรับการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์มวนเขียวดูดไข่ คือ อาหารสูตร 1 น้ำตัวอ่อนผึ้ง:น้ำผึ้ง (1:1 โดยมวล) มีค่าเฉลี่ยของการเข้ากินเหยื่อ 6 ตัว ในช่วงเวลา 30 นาที จากจำนวนมวนเขียวดูดไข่ที่ใช้ในการทดสอบทั้งหมด 10 ตัว ส่วนอาหารสูตร 2 น้ำตัวอ่อนหนอนนก:น้ำผึ้ง (1:1 โดยมวล) มีค่าเฉลี่ยของการเข้ากินเหยื่อ 4 ตัว จึงเลือกอาหารเทียม สูตรที่ 1 เป็นอาหารเสริมในการทดลองต่อไป