การศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากธรรมชาติในการยับยั้งเชื้อราบนขั้วหวีกล้วย

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พรณัชชา เครือวงค?, สิริประภา จิตมโนวรรณ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

เกียรติศักดิ์ อินราษฎร

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

กล้วยสามารถเจริญเติบโตได้ในทุกฤดูให้ผลผลิตมาก ซึ่งเป็นผลไม้ส่งออกไปยังต่างประเทศได้หลากหลาย

และก่อนการส่งออกต้องควบคุมมาตรฐานกล้วยให้อยู่ในระดับที่พอดี หวีกล้วยส่วนใหญ่ในระหว่างการบ่มก็จะเกิดเชื้อราตรงหัวทำให้หัวหรือขั้วหวีเน่าได้ชนิดของกล้วยที่ส่งออกในลักษณะของกล้วยสดแช่เย็น โดยเฉพาะกล้วยหอมทองซึ่งมีการส่งเสริมให้ปลูกเพื่อการส่งออกเนื่องจากมีกลิ่นหอมลักษณะของกล้วยแต่ละรูปเรียงตัวกันอยู่ในหวีอย่างสวยงามทำให้เป็นที่นิยมของกลุ่มลูกค้าต่างประเทศตลาดส่งออกหลักของไทยได้แก่ญี่ปุ่นและจีนปัญหาสำคัญของกล้วยหอมหลังการเก็บเกี่ยวก็คืออ่อนแอต่อโรคขั้วสีเน่าเชื้อราสาเหตุโรค ได้แก่ เชื้อ Lasiodiplodia theobromae, Fusarium oxysporum,Colletotrichum musae, Pestalotiopsis sp. และ Phomopsis sp. เชื้อราจะเข้าทำลาย บริเวณขั้วหวีทำให้เนื้อเยื่อเปลี่ยนเป็นสีดำเน่าลุกลามสู่ก้านของผลทำให้ผลหลุดร่วงได้ง่าย คุณภาพของกล้วยหอมลดลง เชื้อราเหล่านี้มีอยู่ทั่วไปในแปลงปลูกกล้วยซึ่งจะดำรงชีวิตแบบ saprophyte ในเศษซากพืชและต้นกล้วยที่ตายในแปลงโดยสปอร์ยังสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานในแปลงภายใต้สภาวะที่มีความชื้นและอุณหภูมิสูงสปอร์ของเชื้อราสามารถแพร่ทางอากาศเลยมาตกที่เครือกล้วย จึงได้ศึกษาหาสารสกัดจากใบยี่หร่า

ยี่หร่าประกอบไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ฟีนอล ฟลาโวนอยด์ และเทอร์พีน จึงเชื่อว่ายี่หร่าอาจมีฤทธิ์ป้องกันการเกิดโรคจากสารอนุมูลอิสระที่ทำลายเซลล์ได้ โดยเฉพาะน้ำมันหอมระเหยจากยี่หร่าที่ถูกนำมาศึกษาแล้วพบว่ามีประสิทธิภาพในการต้านสารอนุมูลอิสระสูงและสารสกัดจากใบยี่หร่ายังช่วยยับยั้งการเกิดโรคหวีเน่าได้อีกด้วย