การพัฒนาแผ่นห่ออาหารย่อยสลายได้จากกล้วยหอมผสมสารโพรโพลิสในน้ำผึ้งชันโรงเพื่อถนอมอาหาร
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐธิดา ดวงแก้ว, นภัสรพี เหมมณี, ญาณินทร์ คงรื่น
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ชญานิษฐ์ นวลสนอง, ภัทริตา ขาวนวล
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์สาขาวิทยาศาสตร์กายภาพ เรื่อง การพัฒนาแผ่นห่ออาหารย่อยสลายได้จาก กล้วยหอมผสมสารโพร โพลิสในน้ำผึ้งชันโรงเพื่อถนอมอาหาร มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาพืชที่มีเส้นใย หรือพอลิแซ็กคาไรด์ปริมาณสูง 4 ชนิด ได้แก่ มันสำปะหลัง กระเทียม หัวไซเท้า และกล้วยหอม นำมาสร้าง แผ่นห่ออาหาร 2)เพื่อศึกษาอัตราส่วนของปริมาณกล้วยหอม น้ำ น้ำผึ้งชันโรง กลีเซอรีน และ โซเดียม- อัลจิเนต ที่มีผลต่อคุณสมบัติเฉพาะ (ความโปร่งแสง) ของแผ่นห่ออาหาร 3)เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบ ระยะเวลาในการเก็บรักษาอาหารที่ห่อด้วยแผ่นห่ออาหารที่ผสมสารโพร โพลิส และไม่ผสมสารโพรโพลิส ในน้ำผึ้งชันโรง โดยใช้อัตราส่วนที่ดีที่สุด และเพื่อศึกษาระยะเวลาในการย่อยสลายของแผ่นห่ออาหาร ย่อยสลายได้จากกล้วยหอมผสมสารโพรโพลิส และไม่ผสมสารโพรโพลิส ในน้ำผึ้งชันโรง จากการศึกษามันสำปะหลัง หัวไชเท้ และกล้วยหอมมีเส้นใย หรือพอลิแซ็กคาไรค์ ในปริมาณที่สูง 2)เนื่องจากสามารถขึ้นรูปเป็นตัวผลิตภัณฑ์ได้ แต่กล้วยหอมมีความบาง และมีผิวที่เรียบ เนียนมากที่สุด สูตรที่ 2 (ปริมาณกล้วยหอม 80 กรัม : โซเดียมอัลจิเนต 2.5 กรัม : น้ำ 5 กรัม : น้ำผึ้งชันโรง 3 กรัม : กลีเซอรีน 7 กรัม จึงมีความสว่างของแสงมากที่สุด แสดงว่ามีค่าความโปร่งแสงมากที่สุดจากการวัด ค่าความสว่างของแสงจากแอปพลิเคชัน LightMeter โดยวัดกับหลอดไฟ LED มีกำลังไฟฟ้า 24 วัตต์ 3)แผ่นห่ออาหาร ที่ผสมสารโพรโพลิสในน้ำผึ้งชันโรงมีระยะเวลาในการเก็บรักษาอาหารได้ดีกว่า แผ่นห่ออาหารที่ไม่ผสมสารโพร โพลิสในน้ำผึ้งชันโรง และ4)มีระยะเวลาในการย่อยสลายของแผ่นห่อ อาหาร โดยสามารถย่อยสลายได้ภายในระยะเวลา 1 เดือน