การศึกษาประสิทธิภาพสารเคลือบผิวกันน้ำบนผ้าไนลอนเพื่อพัฒนาเป็นเสื้อกันฝน
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
อาภาภัทร ใจกว้าง, สิตานัน อินทร์จันทร์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
กุสุมา เชาวลิต
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
อุปกรณ์ใช้สอยต่างๆที่เกิดจากการใช้ผ้าไนลอนยังขาดคุณสมบัติบางประการซึ่งการนำเส้นใยไนลอนมาผลิตและแปรสภาพให้กลายเป็นอุปกรณ์ใช้สอยหลากหลายอย่างในชีวิตประจำวันซึ่งผ้าไนลอนมีคุณสมบัติพิเศษมากมายแต่ยังมีความยืดหยุ่นเล็กน้อยและทนความร้อนได้ไม่ดี ดูดความชื้นได้พอเหมาะซึ่งข้อบกพร่องส่วนนี้จึงมักใช้ผสมกับเส้นใยชนิดอื่นๆหรือแม้กระทั่งใช้สารเคมีเพื่อให้เกิดคุณสมบัติและประสิทธิภาพสูงสุด อย่างไรก็ตาม ต้องอาศัยระยะเวลาและต้นทุนจำนวนมากแต่ในปัจจุบันมีการนำสารในธรรมชาติมาใช้เพื่อเพิ่มคุณสมบัติ จากปัญหาเหล่านี้ทำให้ผู้จัดทำเล็งเห็นได้ว่าต้องมีการปรับปรุงคุณสมบัติของผ้าไนลอน โดยศึกษาสารในธรรมชาติจึงได้ทำการเลือกนำน้ำยางพารามาเคลือบผ้าไนลอนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผ้ารวมไปถึงการเพิ่มมูลค่าของยางพารา ผ้าไนลอนเคลือบยางพารามีคุณสมบัติและประสิทธิภาพสูงสุดโดยเฉพาะด้านการป้องกันน้ำจึงได้ศึกษาโดยการเลือกแช่ผ้ากับน้ำยางพารา ระยะเวลา 7 นาที ในการเคลือบยางพาราความหนา 0.63 mm ซึ่งเป็นความหนาที่เหมาะสมเเล้วนำมาศึกษาประสิทธิภาพของสารละลายเเละความเข้มข้นที่มีผลต่อการเเข็งตัวของยางพาราเช่น Ethanol , Glycerol , CH3COOH , HCl 0.1 M , HCl 0.2 M โดยสังเกตสมบัติของผ้าไนลอนเคลือบยางพาราได้เเก่ การเเข็งตัว การเกิดกลิ่น และการเกิดรา แล้วจึงนำมาทดสอบประสิทธิภาพได้แก่ การดูดซึมน้ำ(absorbent)และความแข็งแรงซึ่งผ้าไนลอนเคลือบยางพาราที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดมีความสามารถที่เหมาะสมแก่การนำไปใช้งานในการจัดทำเสื้อกันฝนหรือแม้กระทั่งช่วยปรับปรุงการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านอุตสาหกรรมผ้า