หวอดเทียมสำหรับฟักไข่กบ
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กิตติพศ ปรัชญสุนทร, ภัทรลภา น้อยหว้า, จิราพรรณ พุ่มสงวน
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นิรันดร์ เหลืองสวรรค์
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ในปัจจุบันการเลี้ยงกบได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงได้อย่างดี แต่ยังประสบปัญหาการวางไข่ เนื่องจากมีไข่บางฟองที่จมน้ำทำให้เน่า และมีโอกาสการรอดชีวิตที่ต่ำ แรงบันดาลใจเราได้สังเกตเห็นปลากัดเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ มีการฮุบอากาศแล้วพ่นออกมาเป็นฟอง ซึ่งฟองเหล่านี้คือ น้ำผสมกับอากาศและน้ำลายของปลากัด ทำให้ฟองเหนียวแตกได้ยาก การก่อหวอด สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นรังสำหรับวางไข่และอนุบาลลูกปลา ดังนั้นผู้จัดทำจึงมีแนวคิดในการเลียนแบบการก่อหวอดของปลากัด โดยเราจะเลียนแบบการพ่นฟองอากาศที่มีน้ำเมือก ซึ่งไข่บางฟองมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ ทำให้ไข่จำพวกนั้นจม และเกิดการเน่าเสีย เราจึงศึกษาและเปรียบเทียบชนิดของสารละลายจากธรรมชาติที่มีผลต่อการจมการลอยของไข่กบ ในการสร้างหวอดของปลากัดโดยปลากัดจะอมอากาศจากนั้นมาปล่อยในน้ำ เราจึงเลียนแบบการปล่อยฟองของปลากัด โดยเราจะใช้เครื่องแอร์ปั้ม แต่ขนาดของหวอดมีขนาดเล็ก เราจึงเปรียบเทียบขนาดของหวอดที่มีระยะเวลาในการแตกของหวอด โดยเราจะเปรียบเทียบขนาดของท่อที่สามารถผลิตหวอดในขนาดที่แตกต่างกัน ซึ่งหวอดบางหวอดมีแก๊สข้างในมากเกินไปและน้อยเกินไป เราจึงเปรียบเทียบชนิดของอากาศและปริมาณใช้ แก๊สที่จะเปรียบเทียบได้แก่ ออกซิเจน และคาร์บอนไดออกไซด์ โดยจะนำกระบอกฉีดยามาดูดแก๊สในปริมาณที่แตกต่างกัน เมื่อนำไปทดสอบประสิทธิภาพ นำไข่กบ30ฟอง ลงไปในบ่อน้ำที่มีเมือกปลาผสม จากนั้นเปิดใช้แอร์ปั้มโดยใช้แก๊สออกซิเจน 60 มิลลิลิตร ฟองหวอดเทียมจึงยืดอายุไข่มีให้โอกาสรอดชีวิตที่สูง