การศึกษาประสิทธิภาพสารเคลือบจานกระดาษจากไคโตซานที่สกัดจากเห็ดฟางผสมกับแป้งมันฝรั่ง แป้งมันเทศและแป้งถั่วเขียว
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธมลวรรณ คำวิชิต, ธมลภัทร สายม่วง
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ภคพร บัวทอง
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
บรรจุภัณฑ์ที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่ทำมาจากกระดาษ เนื่องจากสามารถนำมาใส่
อาหารรับประทานได้โดยปลอดสารเคมีตกค้าง เพราะมีการเคลือบพลาสติกโพลีเอทิลีน (PE)
ทำให้ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งปัญหาของพลาสติกโพลีเอทิลีน (PE) ต้องใช้เวลาย่อยสลายมากกว่า 100 ปี และ
เกิดเป็นไมโครพลาสติก (ไมโครพลาสติกได้ปนเปื้อนแทรกซึมไปทั่วห่วงโซ่อาหารของมนุษย์) เป็นเหตุให้โดย
เฉลี่ยแล้วเราบริโภคไมโครพลาสติกเข้าไปในร่างกายกว่า 5 กรัม/สัปดาห์ เป็นต้นเหตุของความเจ็บป่วยเรื้อรัง
ร้ายแรงต่างๆ ไปจนถึงมะเร็ง และการเผาทำลายพลาสติกยังก่อให้เกิดก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์และก๊ชพิษอื่นๆ
ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนอีกด้วย จากปัญหาข้างต้นคณะผู้จัดทำสนใจการนำวัสดุธรรมชาติมาเคลือบบนจานกระดาษเพื่อลดระยะเวลาในการย่อยสลายและลดการส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ไคโตซานจากเห็ด แป้งมันฝรั่ง แป้งมันเทศ แป้งถั่วเขียว เนื่องจากเป็นพอลิเมอร์ที่หาได้ง่ายและมีคุณสมบัติที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ
ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงทำการศึกษาประสิทธิภาพสารเคลือบจานกระดาษจากไคโตชานที่สกัดจากเห็ด
ฟางผสมกับแป้งมันฝรั่ง แป้งมันเทศ แป้งถั่วเขียว เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาสารเคลือบบรรจุภัณฑ์
วัตถุประสงค์ 1.เปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารเคลือบจานกระดาษในการสกัดกั้นน้ำและไขมัน
2.เพื่อสร้างจานกระดาษที่มีประสิทธิภาพและย่อยสลายได้ง่ายขึ้น