การศึกษาปุ๋ยเคลือบไบโอพอลิเมอร์จากชานอ้อยเพื่อชะลอการปลดปล่อยธาตุอาหาร
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปรียาภรณ์ บูชารัมย์, สุชาดา ยุดรัมย์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
นารีรัก เหยียดกระโทก, วัชราภรณ์ แสนนา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ไนโตรเจน (N) เป็นธาตุอาหารที่พืชต้องการในปริมาณมากแต่ดินที่ใช้เพาะปลูกโดยทั่วไปมักมีไนโตรเจนไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช จึงมีความจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยเติมให้พืชเจริญงอกงามได้ดี การใส่ปุ๋ยยูเรียในดินจะเกิดการเปลี่ยนรูปบางส่วนเปลี่ยนไปในรูปไนเตรท (NO3-) ซึ่งสูญเสียไปจากดินได้ง่ายและรวดเร็วโดยพืชนำไปใช้ได้ไม่ถึงร้อยละ 50 ของปุ๋ยที่ใส่ลงไปและปุ๋ยยูเรียถูกชะล้างได้ง่าย เกิดการตกค้างมากส่งผลให้กิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินมีมากขึ้น ก่อให้เกิดแก๊สมีเทน (CH4) และคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มากขึ้น ซึ่งเป็นแก๊สที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน หากลดการสูญเสียให้น้อยลงจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้ปุ๋ยให้สูงขึ้นช่วยประหยัดพลังงานในภาคเกษตรกรรม ปัจจุบันไบโอพอลิเมอร์นับว่าเป็นวัสดุที่สำคัญต่อโลกในแง่ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายได้และเปลี่ยนวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรให้เป็นวัสดุที่มีมูลค่าและชานอ้อยเศษเหลือของลำต้นอ้อย เป็นวัสดุเศษเหลือจากโรงงานอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาล ในแต่ละปีจะมีชานอ้อยเหลือจากกระบวนการผลิตเป็นจำนวนมาก และจุดเด่นอีกประการหนึ่งของชานอ้อยคือมีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบถึง 48.5% จากคุณสมบัติทางด้านวัสดุที่ได้กล่าวมาทางคณะผู้จัดทำจึงสนใจศึกษาปุ๋ยเคลือบไบโอพอลิเมอร์จากชานอ้อยเพื่อชะลอการปลดปล่อยธาตุอาหารให้แก่พืช ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อที่พืชจะได้รับสารอาหารจากปุ๋ยมากขึ้น ลดการชะล้างของปุ๋ยยูเรีย และพลาสติกชีวภาพยังมีคุณสมบัติที่หลากหลายจึงเหมาะแก่การนำมาศึกษาพัฒนาเพื่อชะลอการปลดปล่อยของธาตุอาหารในปุ๋ย ซึ่งหากสามารถพัฒนาปุ๋ยเคลือบไบโอพอลิเมอร์จากชานอ้อยสำเร็จ จะเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร ให้สามารถเข้าถึง ปุ๋ยที่มีคุณภาพสูงขึ้น ช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและช่วยให้เกษตรกรเพิ่มรายได้ให้มากขึ้นได้