เก้าอี้นั่งชักโครกช่วยพยุงการลุกนั่ง
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ญาณาธิป บุญทอง, ธีร์วรา ดือราแม, ไพศาล มะรอเซะ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ฉันทนา สุขน้อย
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานเก้าอี้นั่งชักโครกช่วยพยุงการลุกนั่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิธีการลุกนั่งที่ถูกต้องจากเก้าอี้
ของผู้ใช้ที่มีปัญหาการลุกนั่ง 2) ศึกษาการประดิษฐ์เก้าอี้นั่งชักโครกช่วยพยุงการลุกนั่ง 3) ศึกษาประสิทธิภาพเก้าอี้
นั่งชักโครกช่วยพยุงการลุกนั่ง โดยเริ่มศึกษาจากผู้ใช้ที่มีปัญหาในการลุกนั่ง 3 แบบ คือ 1.ท่าลุกนั่งจากเก้าอี้ในผู้ใช้
ที่มีอาการหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาทมีอาการปวดร้าวลงขา 2.ท่าลุกนั่งจากเก้าอี้แบบมีที่จับส าหรับ
ผู้ใช้ที่มีความสามารถในการทรงตัวต่ า 3.ท่าลุกนั่งลดแรงกระแทก หรือผู้ใช้มีอาการหัวเข่าเสื่อม จากการศึกษา
วิธีการลุกนั่งที่ถูกต้องพบว่าการลุกนั่งมีวิธีการที่เหมือนกันคือให้เกร็งกล้ามเนื้อหน้าขา ค่อยๆ ยกสะโพกขึ้นหรือลง
อย่างช้า ๆ เพื่อป้องกันน้ าหนักลงบริเวณหัวเข่า หรือใช้กำลังจากส่วนหลังในการลุกนั่ง ซึ่งอาจท าให้กระดูกสันหลัง
เคลื่อนตัวได้จากนั้นน าข้อมูลที่ได้จากการศึกษาไปใช้ในการออกแบบเก้าอี้นั่งชักโครกช่วยพยุงการลุกนั่ง โดยให้
เบาะรองนั่งสามารถปรับระดับได้ มีการควบคุมด้วยรีโมทคอนโทรล จากการศึกษาการประดิษฐ์เก้าอี้นั่งชักโครก
ช่วยพยุงการลุกนั่ง พบว่าเก้าอี้นั่งชักโครกช่วยพยุงการลุกนั่ง ท าด้วยสแตนเลส มีความกว้าง 40 เซนติเมตร ยาว
55 เซนติเมตร สูง 65 เซนติเมตร มีราวจับช่วยพยุงเวลาลุกนั่ง ลักษณะบริเวณฐานก้นมีเบาะรองนั่งที่สามารถดัน
ฐานก้นให้ท ามุม 60 องศา กับแนวระดับ ควบคุมการยกระดับด้วยรีโมทคอนโทรล และเมื่อท าการศึกษา
ประสิทธิภาพของเก้าอี้นั่งชักโครกช่วยพยุงการลุกนั่ง พบว่าระยะเวลาการนั่งเฉลี่ย 1.29 นาที น้ าหนักของผู้ใช้ไม่ได้
ส่งผลต่อการยกขึ้นหรือยกลง ผู้ใช้ที่มีอาการปวดหัวเข่าขณะลุกยืนให้ความเจ็บปวดขณะลุกนั่งโดยไม่ใช้นั่งเก้าอี้ชัก
โครกพยุงการลุกยืน ระดับความเจ็บปวดเต็ม 5 คะแนน เมื่อใช้เก้าอี้ชักโครกพยุงการลุกยืน ระดับความเจ็บปวด
ฐานนิยมอยู่ที่ 2 คะแนน และผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้เก้าอี้ชักโครกพยุงการลุกนั่งพบว่าความพึง
พอใจโดยเฉลี่ยเท่ากับ 4.40 ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก