การทำนายฤทธิ์ในการยับยั้งมะเร็งของเปปไทด์ จากหนอนแมลงวันลาย (Hermetia illucens) ด้วยเทคนิคชีวสารสนเทศ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัฐสริญญา ศรีวิเชียร, นาซึมิ ทาคากิ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

จิรวัฒน์ วโรภาษ, ปราโมทย์ ชำนาญปืน

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เชียงราย

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โรคมะเร็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของคนในประเทศไทย ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีวิธีรักษาอยู่หลากหลายวิธี แต่วิธีการเหล่านั้นก็ไม่ใช่การรักษาอย่างเฉพาะเจาะจงและมีผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ต่อผู้เข้ารับการรักษา การศึกษานี้จึงได้ทำนายและคัดเลือกเปปไทด์จากหนอนแมลงวันลาย(BSFL, Hermitia illusens) ที่ถูกจำลองการย่อยด้วยเอนไซม์ทริปซิน โดยใช้เทคนิคชีวสารสนเทศ ขั้นแรกคัดเลือกโปรตีนหลัก 9 ชนิดในหนอนแมลงวันลาย ที่ถูกจำลองการย่อยด้วยเอนไซม์ทริปซิน ได้แก่Actin, Cycropin, Defensin, Ferritin, Hemocytin, Laminin, Myofilin, Myosin ,Troponin และรวบรวมเป็น ชุดข้อมูลอินพุต จากนั้นทํานายคุณสมบัติการยับยั้งมะเร็งด้วยโปรแกรม AcPEP ซึ่งประกอบด้วยเนื้อเยื่อ มะเร็ง 6 ชนิด ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งปอด มะเร็งต่อมลูกหมาก และ มะเร็งผิวหนัง จากนั้นวิเคราะห์การกระทำของเปปไทด์ โดยเปปไทด์เหล่านั้นมีการกระทําที่หลากหลายต่อเซลล์มะเร็ง เช่น ความเป็นพิษต่อเซลล์ และการแทรกซึมผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้ด้วยโปรแกรม ToxinPred, ToxinIBTL, MLCPP2.0 และ BChemRF-CPPred แต่เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย เช่น อาการแพ้ การทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตก และความเป็นพิษต่อเซลล์โดยรวม เปปไทด์ที่ผ่านการคัดเลือกจึงถูกทำนายด้วยโปรแกรม AllerCatPro, HemoPred, AI4AMP, ToxinPred และToxinIBTL ขั้นตอนสุดท้ายวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีกายภาพ และโครงสร้างทุติยภูมิของเปปไทด์ ด้วยโปรแกรม AntiCP2.0 และ PEP-FOLD3.5