ศึกษาประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำของใบสับปะรด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ธนพล นันทราช, นิธินันท์ สภานนท์
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เอนก ไชยบุตร, จักรรินทร์ เณรจาที
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานเรื่อง ศึกษาประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำของใบสับปะรด มีที่มาจากโลกยุคปัจจุบันนี้หลายประเทศทั่วโลกประสบกับปัญหาแห้งแล้งอันเป็นผลมาจาก ภาวะโลกร้อน ซึ่งสาเหตุหลักๆคือการที่มนุษย์ใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฟุ่มเฟือย โดยทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับปัญหานี้เป็นอย่างมาก ทำให้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมได้รับความสนใจจากหลายๆภาคส่วน เช่น ในส่วนของภาคการผลิตโดยเฉพาะในส่วนของเกษตรกร ซึ่งมีความต้องการเทคโนโลยีที่ไม่เป็นพิษกับสิ่งแวดล้อม มีส่วนช่วยลดการใช้ทรัพยากรที่มีต้นทุนสูง และเพิ่มความสะดวกสบายในดูแลสินค้าของตนได้และสับปะรดเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมในเชียงราย และมีปริมาณที่มากจึงได้จัดทำโครงงานนี้ขึ้น
วิธีการทำการทดลองดังนี้ ขั้นแรก เตรียมแปลงดินโดยเตรียมพื้นที่ขนาด 2 x 2 ตารางเมตร ทั้งหมด 3 แปลง โดยแต่ละแปลงเป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย จากนั้นทำการพรวนดิน 2 ครั้งต่อแปลง และทำการทิ้งไว้ 2 วันเพื่อเป็นการปรับหน้าดิน จากนั้นทำการตรวจสอบคุณสมบัติทางกายภาพ และทางชีวภาพของดิน จากนั้นทำการรดน้ำลงไปให้ชุ่มทั้ง 3 แปลง ขั้นที่สอง นำใบสับปะรดมาทำเป็นวัสดุคลุมดิน โดยนำใบสับปะรดมาคลุมแปลงที่ 1ไม่ใช้วัสดุคลุมดิน ส่วนแปลงที่ 2 ทำการสานสับปะรดในลักษณะหงายใบขึ้น แปลงที่ 3 ทำการสานใบสับปะรดในลักษณะคว่ำใบลง และรอ 1 สัปดาห์เพื่อบันทึกผลการทดลอง ขั้นที่สาม นำดินที่ทำการทดลองแล้วทั้ง 3 แปลง ตรวจสอบคุณสมบัติทางกายภาพ ได้แก่ สีของดิน ลักษณะเนื้อดิน ค่าความเป็นกรด-เบส ค่าความชื้นในดิน และค่าธาตุอาหาร NPK และทางชีวภาพของดิน
ได้แก่ ปริมาณของสิ่งมีชีวิตในดิน เพื่อเพื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลก่อนหน้านี้ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาสรุปและวิเคราะห์ผลการทดลอง
จากการทดลองเบื้องต้น ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงงานนี้ก็คือ ได้ทราบถึงประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำของใบสับปะรด ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อยอดนวัตกรรมในเชิง Bio mimicry ในการช่วยเหลือเกษตรกรได้, ได้ทราบถึงโครงสร้างของใบสับปะรดโดยละเอียด และทำให้สามารถลดปริมาณขยะจากกระบวนการเกษตรโดยมานำขยะเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์อย่างสูงสุด