การเพิ่มประสิทธิภาพฝ้าเพดานผสมใยมะพร้าวเพื่อลดความร้อนภายในบ้าน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ชุณนเกียรติ เงาแจ้ง, พชร อินทร์เพชร

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

วัชราภรณ์ แสนนา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2566

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ภายใต้สภาวะการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของโลกซึ่งทำให้มีนวัฒกรรมใหม่ๆเข้ามาใช้เพื่อความสะดวกสบายภายใต้การเติบโตของเทคโนโลยีเหล่านี้ทำให้โลกเกิดสภาวะโลกร้อนขึ้นเพราะฉนั้นจึงเห็นได้ว่าการอาศัยในบ้านหรือครัวเรือนในสภาวะโลกร้อนจึงจำเป็นที่จะต้องติดแอร์เพื่อความร่มเย็นของบ้านจึงทำให้สิ้นเปลืองเสียพลังงาน

ในการก่อสร้างบ้านในปัจจุบันจึงนิยมใช้ฝ้าเพดานเพื่อช่วยลดความร้อนจากแสงอาทิตย์และกักเก็บความเย็นภายใน

ตัวบ้าน โดยส่วนประกอบหลักของที่พักอาศัยที่มีการส่งผ่านความร้อนมากที่สุดคือส่วนของหลังคา บริเวณใต้หลังคาจึงต้องมีการติดตั้งแผ่นฝ้าเพดาน เพื่อลดการส่งผ่านความร้อนเข้าสู่ตัวอาคาร ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทําให้เครื่องปรับอากาศทํางานหนักและสิ้นเปลืองพลังงานเพิ่มขึ้น ในการติดตั้งแผ่นฝ้าเพดานที่นิยมใช้กันมากคือ แผ่นยิปซัม ประกอบด้วยปูนยิปซัม (Gypsum plaster) เป็นส่วนผสมหลัก และอาจผสมด้วยเส้นใยหรือวัสดุอื่นๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพให้กับแผ่นยิปซัมให้มีความสวยงาม ง่ายต่อการตกแต่ง กันร้อน กันเสียง กันไฟ ไม่ยืดหดตัว ติดตั้งดัดแปลงแก้ไขง่ายประหยัด และไม่เกิดการไหม้แบบลุกลามเมื่อถูกเผาไหม้

สําหรับแผ่นฉนวนกันความร้อนที่มีใช้กันอยู่โดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นแบบแผ่นฉนวนใยแก้วหุ้มฟอยล์ หรือ

แผ่นฉนวนแบบโพลียูรีเทน ก็ยังมีราคาที่สูง โดยส่วนใหญ่วัสดุหลักที่นํามาทําฉนวนกันความร้อนคือ ใยแก้วซึ่งวัสดุบางอย่างที่นํามาผสมกับใยแก้วเป็นวัสดุที่ก่อให้เกิดอันตราย หรือให้ความรู้สึกอันตราย เช่น มีกลิ่นเหม็น การสัมผัสโดยตรงกับผิวหนังอาจทําให้เกิดอาการแพ้ ระคายเคืองต่อผิวได้ สําหรับแนวคิดการนําวัสดุธรรมชาติที่มีคุณสมบัติต้านทานความร้อนมาใช้เป็นวัสดุทดแทน

จากที่มาและความสำคัญดังกล่าวจึงทำให้ทีมผู้พัฒนามีความคิดที่จะทำฝ้าเพดานผสมเส้นใยมะพร้าวที่มี

ความสามารถในกันรังศรีความร้อนและรังศรีอูวีได้ดี ซึ่งฝ้าเพดานที่ผลิตขึ้นมามีความสามารถช่วยให้อุณหภูมิในบ้านลดลงสามารถกักเก็บอุณหภูมิในบ้านได้ ลดการใช้พลังงาน และความแข็งแรง