การเพิ่มประสิทธิภาพผงดูดซับตะกั่วจากเปลือกหอยเชอรี่

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ธนัญญา ราชาอาจ, ปาริฉัตร อันภักดี

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

มุกดา หอมมาลี, วิลาวัลย์ พรมชุม

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย บุรีรัมย์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

น้ำเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต ปัจจุบันพบว่าแหล่งน้ำหลายแหล่งได้ถูกทำลายลงด้วยฝีมือมนุษย์ เช่น การทำโรงงานอุตสาหกรรม การทำการเกษตร การดำรงชีวิตของมนุษย์ ฯลฯ จึงทำให้เกิดน้ำเสียขึ้นปัจจุบันนี้มีหลากหลายวิธีในการบำบัดโลหะหนักออกจากแหล่งน้ำ เช่น การตกตะกอนเคมี การใช้ไฟฟ้าในการบำบัด และการใช้ถ่านกัมมันต์ในการดูดซับซึ่งวิธีการเหล่านี้มีราคาและต้นทุนที่สูงมาก การบำบัดโลหะหนักบางวิธีก็ยังมีข้อจำกัดในการบำบัดและมีปัญหาต่างๆ ในการบำบัดอีก จึงมีการศึกษาค้นคว้าวัสดุดูดซับชนิดอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่ามาทดแทน หลายๆปีที่ผ่านมามีการคิดค้นนำวัตถุดิบที่มีต้นทุนต่ำมาใช้เป็นวัสดุดูดซับ ที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดสูงและมีความปลอดภัยต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเปลือกหอยเชอรี่นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการนำมาใช้เป็นวัสดุดูดซับทางธรรมชาติ เนื่องจากเปลือกหอยเชอรี่มีองค์ประกอบหลักคือ แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO_3) ซึ่งสามารถใช้เป็นสารตกตะกอนในการบำบัดโลหะหนัก การนำเปลือกหอยชนิดนี้มาใช้ในบำบัดน้ำเสียที่มีการปนเปื้อนของสารตะกั่วโดยมีการเพิ่มประสิทธิภาพของเปลือกหอยเชอรี่โดยการแช่กรดไฮโดรคลอริก(HCl)เป็นการลดต้นทุนในการบำบัดน้ำเสียและเป็นการนำเปลือกหอยที่เป็นวัสดุเหลือทิ้งมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด