การศึกษาการแปรรูปพืชเส้นใยเพื่อผลิตเคสโทรศัพท์มือถือด้วยนาโนซิงค์ออกไซด์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

วราภรณ์ เดียงกุล, บัณฑิตา ภูมิภักดิ์, อนันตญา ผ่องใส

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัญญา สัมพะวงศ์, ณัชชา สวัสดิ์ทา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนท่าโพธิ์ศรีพิทยา

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2560

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในปัจจุบันโทรศัพท์มือถือเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องติดตัวอยู่ตลอดเวลา เป็นเครื่องใช้ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก นอกจากการสื่อสารกัน และการรับข้อมูลข่าวสารทางออนไลน์แล้วโทรศัพท์ยังเป็นตัวช่วยที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานได้อีกด้วย ทำให้ต้องมีการดูแลรักษาโทรศัพท์มือถือเพื่อให้มีความคงทน สามารถใช้งานได้เป็นเวลานาน ซึ่งจากเหตุผลนี้จึงมีเคสโทรศัพท์มือถือที่มีวางจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไปเป็นจำนวนมาก เพื่อป้องกันโทรศัพท์มือถือในการกระแทก ช่วยป้องกันการเสียหายในรูปแบบต่างๆ หรือป้องกันการชำรุดของโทรศัพท์มือถือได้

ตำบลท่าโพธิ์ศรี อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ประชาชนส่วนใหญ่มีการปลูกพืชทางการเกษตรเป็นจำนวนมาก และปลูกพืชที่ให้เส้นใย เช่น กล้วย กาบมะพร้าว ผักตบชวา กก ผือ เตย ไหล เป็นต้น ด้วยการที่มีแหล่งพืชเส้นใยภายในชุมชน โดยส่วนของพืชเส้นใยจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการสร้างเคสโทรศัพท์มือถือได้ เนื่องจากมีความเหนียวและคงทนต่อการขาด ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงได้ศึกษาโครงงานการศึกษาการแปรรูปพืชเส้นใยเพื่อผลิตเคสโทรศัพท์มือถือด้วยนาโนซิงค์ออกไซด์ ซึ่งเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยเลือกวิธีปฏิบัติที่น่าเชื่อถือในกระบวนการทางฟิสิกส์ โดยวิธีการวัดค่าความชื้น ซึ่งเป็นค่าที่บอกความเหมาะสมในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ การหาค่าความคงทนต่อการขาด ซึ่งเป็นค่าที่บอกความสามารถในการออกแรงต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง และการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพเมื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ โดยเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการใช้นาโนซิงค์ออกไซด์ อันเป็นประโยชน์ในการนำมาผลิตเพื่อให้ได้เส้นใยที่มีคุณภาพมากที่สุด นอกจากนี้ยังเป็นการนำวัสดุทางธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์และเป็นการเพิ่มมูลค่าได้อีกด้วย