การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดเพคตินจากเปลือกแคร์รอต
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐวรา เล็กศรัณยพงษ์, กุลกันยา เนียมหอม
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
วัชราภรณ์ แสนนา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดเพคตินจากเปลือกแคร์รอตด้วยกรดซัลฟิวริก 2) เพื่อศึกษาคุณสมบัติของเพคตินที่สกัดได้เปรียบเทียบกับเพื่อนเพคตินที่จำหน่ายในท้องตลาด ทำการทดลองโดยแบ่งการทดลองเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การสกัดเพคตินจากเปลือกแคร์รอตภายใต้ 3 สภาวะที่แตกต่างกัน ได้แก่ อุณหภูมิ เวลา และตัวทำละลายที่ใช้ในการสกัด ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูล มีวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลคือ เปรียบเทียบเพคตินที่สกัดได้กับเพคตินที่วางขายตามท้องตลาดจากร้อยละของน้ำหนักแห้งและโครงสร้างของเพคตินด้วยเครื่องฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟาเรดสเปก-โตรโฟโตมิเตอร์ (Fourier Transform Infrared Spectrophotometer; FTIR) และวิเคราะห์จากการคำนวณต้นทุนการผลิต จากผลการทดลองพบว่าสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดเพคตินจากเปลือกแคร์รอตอยู่ที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส เวลา 60 นาที และใช้กรดซัลฟิวริกในการสกัด ซึ่งได้ผลผลิตร้อยละ 11.186 จากการวิเคราะห์โดยวิธี FTIR สามารถยืนยันได้ว่าสารที่สกัดได้คือเพคติน โดยสังเกตจากกราฟระหว่างเพคตินที่สกัดได้กับเพคตินที่วางจำหน่ายในท้องตลาดมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน และจากการคำนวณต้นทุนการผลิตพบว่าต้นทุนในการผลิตเพคตินของทางคณะผู้จัดทำต่ำกว่าราคาเพคตินที่จำหน่ายในท้องตลาด จึงสรุปผลการทดลองได้ว่า อุณหภูมิ เวลา และตัวทำละลายที่ใช้ในการสกัดเพคตินจากเปลือกแคร์รอตมีผลต่อปริมาณและคุณสมบัติของเพคตินที่สกัดได้ และเพคตินที่สกัดได้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับเพคตินที่จำหน่ายในท้องตลาด ซึ่งโครงงานนี้สามารถนำไปต่อยอดในการสกัดเพคตินจากเปลือกแคร์รอตไปใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตแยมเพื่อลดต้นทุนการผลิตแยมได้