ชุดอุปกรณ์ตรวจสอบความปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในน้ำแบบพกพา
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กลย์ธัช ดุษฎีกุลชัย, ปณัฐ สุวรรณสิงห์, กิตติธัช กันตอนันตพร
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
เรวัตร ใจสุทธิ
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัญหาการปนเปื้อนของไมโครพลาสติกในน้ำของช่วงที่ผ่านมากำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว วิธีที่ใช้ตรวจวัดไมโครพลาสติกในปัจจุบันมีต้นทุนที่สูง และต้องทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ทำให้ไม่เหมาะกับการตรวจวัดไมโครพลาสติกในภาคสนาม จึงมีการประยุกต์ใช้เซนเซอร์แสงเข้ามาตรวจสอบไมโครพลาสติก เพื่อให้ง่ายต่อการพกพา อย่างไรก็ตาม วิธีดังกล่าวมีความละเอียดที่ต่ำ ทำให้ต้องมีวิธีการตรวจวัดไมโครพลาสติกวิธีอื่นเข้ามาตรวจสอบร่วมด้วย เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตรวจวัด ดังนั้น วัตถุประสงค์ในการทำวิจัย คือ เพื่อสร้างอุปกรณ์แบบพกพาที่มีต้นทุนต่ำ สำหรับตรวจวัดไมโครพลาสติกในภาคสนาม โดยใช้กล้องถ่ายภาพและเซนเซอร์แสง ควบคู่กับระบบปัญญาประดิษฐ์ Convultional Neural Network โดยมีขั้นตอนการทดสอบประสิทธิภาพอุปกรณ์ คือ ใช้ไมโครพลาสติก ชนิด PET และ LDPE ขนาด 0.5 1.0 และ 5.0 มิลลิเมตร โดยแบ่งเป็นชุดทดสอบที่ใส่ไมโครพลาสติกจำนวน 5 ชิ้น กับ 15 ชิ้น ในน้ำกลั่น จากผลการทดสอบ พบว่า ความแม่นยำของอุปกรณ์ยังไม่สูงตามที่ต้องการ ซึ่งอาจมาจาก Dataset ที่ใช้อาจมีคุณภาพที่ต่ำ หรือมีจำนวนภาพที่ใช้ฝึกไม่เพียงพอ ส่วนระบบแสงควรมีการปรับปรุงในส่วนของการเพิ่มการรวมแสง หรือ ลองเปลี่ยนชิ้นส่วนที่ใช้ นอกจากนั้นอุปกรณ์ยังควรทำการเพิ่มหน้าจอแสดงผล GUI และปรับปรุงโครงสร้างของอุปกรณ์ให้มีความกะทัดรัด เพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานและการพกพามากยิ่งขึ้น