การศึกษาผลของปริมาณกลีเซอรอลต่อสมบัติทางกายภาพและทางกลของฟิล์มย่อยสลายได้จากแป้งมันเทศ แป้งมันสำปะหลัง และแป้งมันแกว เพื่อผลิตถุงเพาะชำพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพ

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

วรัทยา ปัญญา, บุญญอร จันทร์นนท์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

จินดา โพนะทา

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ปัจจุบันปัญหาการจัดการขยะเป็นปัญหาที่สำคัญระดับโลก โดยเฉพาะขยะพลาสติกที่เป็นขยะที่ย่อยสลายไม่ได้ อีกทั้งปริมาณพลาสติกในแต่ละปีมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นการผลิตพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพ (biodegradable film) เป็นทางเลือกหนึ่งในการลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ฟิล์มย่อยสลายได้จึงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในงานด้านต่างๆ เช่น การใช้แผ่นฟิล์มคลุมอาหาร แผ่นฟิล์มคลุมดิน และถุงเพาะชำ วัสดุธรรมชาติที่นำมาผลิตเป็นพลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพนั้นมีหลายชนิด เช่น แป้ง ไขมัน และโปรตีน โดยแป้งเป็นที่นิยมในการนำมาผลิตมากที่สุด เนื่องจากมีราคาถูก หาได้ง่าย มีจำนวนมากในธรรมชาติและทางการเกษตร