จักรยานกายภาพไฟฟ้า
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
พัทธ์ธีรา ชูช่วย, ตีรณา แซ่เขา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ศศิธร ณ ระนอง, อดิศร เลื่องสกุลไพศาล
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
จากการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ สาขาวัสดุ ศาสตร์ เรื่องอุปกรณ์ฝึกกล้ามเนื้อผู้ป่วยกล้ามเนื้อแขน ขาอ่อนแรง ( Muscle training equipment for patients with weak limb muscles) มีผลความพึงพอใจ ข้อบกพร่อง และข้อเสนอแนะจากผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อแขน ขาอ่อน แรงจำนวน 20 คน และคณะกรรมการประเมินโครงงานดังนี้ ออกแบบอุปกรณ์ให้แขน และขาเคลื่อนไหวอัตโนมัติด้วย ระบบเดียวกัน และสัมพันธ์กัน ออกแบบที่นั่งให้สามารถปรับความสูงได้ เพื่อให้เหมาะกับระดับความสูงของป่วย และ ป้องกันการเลื่อนของอุปกรณ์ เพิ่มความปลอดภัยโดยการใช้เซนเซอร์ตรวจจับการเคลื่อนไหว และหยุดการทำงานของ อุปกรณ์เมื่อเท้าของผู้ป่วยหลุดจากอุปกรณ์ ประกอบล้อล็อคเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย กอปรกับสังคมโลก ปัจจุบันมีความก้าวหน้าเกิดการพัฒนาทคโนโลยีในระดับสูง มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เกิดการแข่งขันสูงทำให้คนส่วนใหญ่ต้องทำงานหาเงินเพื่อมาเลี้ยงครอบครัวโดยไม่ได้สนใจ และให้ ความสำคัญกับสุขภาพของตนเองจึงทำให้ผู้สูงอายุ และคนทั่วไปเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมากขึ้น จากสภาวะปัญหา การเจ็บป่วยจากการตรวจร่างกายของผู้สูงอายุไทยล่าสุดพบว่ามีผู้สูงอายุที่ป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ต้องพึ่งพิงคนอื่น ช่วยดูแลกว่า 1 ล้านคนคิดเป็นเกือบร้อยละ 15 ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลย และมีอัตราการเพิ่มขึ้นในทุกปี โรคเหล่านี้เริ่มต้นผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงของมือ แขน ขาหรือเท้าข้างใดข้างหนึ่งก่อน เช่น ยกแขนไม่ขึ้น เหนือศีรษะ กำมือถือของไม่ได้ ข้อมือหรือข้อเท้าตก เดินแล้วหกล้มบ่อยหรือสะดุดบ่อย ขึ้นบันไดลำบาก ลุกนั่งลำบาก เป็นต้น อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะค่อยๆ เป็นมากขึ้นจนลามไปทั้ง 2 ข้าง ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อน แรงของแขนหรือขาทั้งสองข้างตั้งแต่ต้น นอกจากอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแล้วยังพบว่ามีกล้ามเนื้อลีบร่วมกับ กล้ามเนื้อเต้นร่วมด้วย และสิ่งที่ทำให้ผู้ป่วยเหล่านี้หายจากการเป็นโรคก็คือ การทำกายภาพบำบัด และการฝึก กล้ามเนื้อ ขี่งวิธีนี้ในทางการแพทย์เป็นวิธีการรักษาที่มีประโยชน์ และจำเป็นใน ทุกโรคทุกสาเหตุของเส้นประสาทที่ ผิดปกติเพื่อช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อน ช่วยในการฟื้นฟูสภาพกล้ามเนื้อของผู้ป่วย โดยทั่วไปการทำกายภาพบำบัด และการฝึกกล้ามเนื้อส่วนใหญ่สามารถทำได้ด้วยตนเองหรือญาติเป็นผู้ช่วยทำ โดยแพทย์ และนักกายภาพบำบัดจะ แนะนำวิธีการทำกายภาพบำบัดเพื่อไปทำที่บ้าน (Home ProgramMe) การทำกายภาพบำบัดที่ดีควรทำให้สม่ำเสมอ ทุกวัน ข้อยึดติด คือการเคลื่อนไหวทุกข้อต่อของร่างกายโดยเฉพาะส่วนที่กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือมีอาการชา เป็นต้น ในการดูแลผู้ป่วยติดเตียงอาจต้องมีอุปกรณ์ในการดูแลหรืออุปกรณ์ที่ผู้ป่วยใช้ดูแลตัวเอง รวมไปถึงเครื่องมืออำนวย ความสะดวกในด้านการดูแลต่างๆ เช่น เตียง หรือรถเข็นผู้ป่วย ที่ผู้ป่วยใช้ เป็นประจำ ผู้ป่วยบ้างคนอาจต้องการ อุปกรณ์ช่วยในการทำกายภาพบำบัดร่างกาย และการฝึกกล้ามเนื้อ แต่อุปกรณ์ข้างต้นอาจยังไม่ตอบสนองความ ต้องการของผู้ป่วยหรืออุปกรณ์อาจจะแพงเกินไปที่ผู้ดูแลหรือผู้ป่วยจะสามารถจัดซื้อจัดหาได้ จึงออกแบบและพัฒนา จักรยานกายภาพให้สามารถใช้งานได้จริงและมีประสิทธิภาพในการใช้งานมากขึ้น