กระบวนการเคลือบเหล็กกล้าด้วยทองแดงนิกเกิลอัลลอยด์โดยวิธีอิเล็กโตรดีโพซิชัน

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

อพิชัย อิ่มวงค์, ชาลิดา ภูวนผา, พีรธัช เสนาธรรม

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ชุมพล ชารีแสน

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนกาฬสินธุ์พิทยาสรรพ์

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2565

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

เหล็กกล้าเคลือบสังกะสีเป็นที่นิยมไปใช้ในงานอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท เนื่องจากโลหะชนิดนี้พบว่าเป็นตัวเลือกหลักของการก่อสร้างประเภทต้นทุนต่ำ แต่พบว่าการเกิดปัญหาการกัดกร่อนของเหล็กกล้าเคลือบสังกะสียังพบได้ตามอาคารและบ้านเรือน เช่น หลังคารั่วจากการเกิดสนิม ส่งผลให้ระยะเวลาการใช้งานลดลง อย่างไรก็ตามเหล็กกล้าเคลือบสังกะสียังขาดการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพการป้องกันการเกิดการกัดกร่อนจากปัจจัยแวดล้อม จากปัญหาที่ได้กล่าวมาข้างต้นคณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะศึกษาวัสดุเหล็กกล้าเคลือบสังกะสีด้วยการเคลือบด้วยทองแดงนิกเกิลอัลลอยด์โดยวิธีอิเล็กโตรดีโพชิซัน (Electrodeposition) ซึ่งทองแดงนิกเกิลอัลลอยด์มีคุณสมบัติต้านทานการกัดกร่อนได้ดี ประกอบกับการเคลือบด้วยวิธีอิเล็กโตรดีโพซิชันซึ่งมีความสามารถยึดติดกับผิวเหล็กเทียบเท่ากับการชุบโลหะอื่นๆ ในการศึกษาวัสดุเหล็กกล้าเคลือบสังกะสีเคลือบด้วยทองแดงนิกเกิลอัลลอยด์โดยวิธีการอิเล็กโตรดีโพซิชัน(Electrodeposition) ซึ่งจะทำการศึกษาเกี่ยวกับการทดสอบการกัดกร่อนหลังการเคลือบด้วยทองแดงนิกเกิลอัลลอยด์ ซึ่งจะมีการทดสอบเพื่อศึกษาบทบาทที่มีผลต่อการกัดกร่อนของเหล็กกล้า เช่น การทดสอบด้วยวิธีการจุ่มแช่ การทดสอบการทดสอบสเปรย์เกลือ/ทดสอบพ่นละอองเกลือ(Salt spray/Fog testing) นอกจากนี้ยังนำแผ่นตัวอย่างหลังการทดสอบการกัดกร่อนไปวิเคราะห์พื้นผิวด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning electron microscope: SEM) และวิเคราะห์องค์ประกอบโดยเทคนิควิเคราะห์การเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ (X-ray diffractometer: XRD) และคำนวณอัตราการกัดกร่อนจากการทดสอบ(Corrosion rate) ด้วยวิธีการจุ่มแช่และนำข้อมูลไปใช้ในการพัฒนาวัสดุให้ดีขึ้นต่อไป เหล็กกล้าเคลือบสังกะสีเคลือบด้วยทองแดงนิกเกิลอัลลลอยด์โดยวิธีอิเล็กโตรดีโพซิชัน(Electrodeposition) จะช่วยให้วัสดุมีความต้านทานการกัดกร่อนได้ดี อีกทั้งยังสามารถนำข้อมูลจากการทดสอบการทดสอบการกัดกร่อนไปพัฒนาวัสดุในอุตสาหกรรมได้