การศึกษาอัตราส่วนของยางพาราและนาโนเซลลูโลสจากซังข้าวโพดในการสังเคราะห์วัสดุทดแทนPolyvinyl chloride (PVC)

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

คงกระพัน การเก่ง, สรวิชญ์ แก้วสามัคคี, พรปวีณ์ คำมี

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ฐิติกร หล้าวงศ์ษา, ดุษฎี ศรีทรงราช

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนลำปางกัลยาณี

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานเรื่องการศึกษาอัตราส่วนของยางพาราและนาโนเซลลูโลสจากซังข้าวโพดในการสังเคราะห์วัสดุทดแทน Polyvinyl chloride มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทดลองหาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างยางพาราและนาโนเซลลูโลสในการสังเคราะห์วัสดุสังเคราะห์ เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพระหว่างวัสดุจาก polyvinyl chloride (PVC) และวัสดุสังเคราะห์จากยางพารา และเพื่อแปรรูปวัสดุสังเคราะห์จากยางพาราให้สามารถทดแทนวัสดุสังเคราะห์จาก polyvinyl chloride (PVC) โดยมีขั้นตอน 3 ตอน ได้แก่ 1) ศึกษาและทดลองหาอัตราส่วนที่เหมาะสมระหว่างยางพาราและนาโนเซลลูโลสในการสังเคราะห์วัสดุสังเคราะห์ โดยนำยางพาราที่ผ่านการบ่มแล้วมาผสมกับนาโนเซลลูโลสโดยใช้อัตราส่วน 90:10 80:20 70:30 60:40 และ 50:50 แล้วทำการศึกษาค่าความหนาแน่น ค่าYoung’s modulus ค่าTensile strength โดยใช้Tensile machine ค่าElongation at break โดยใช้Extensometer ค่าNotch test ค่าGlass temperature ค่าMelting point โดย ค่าVICAT โดยเครื่องทดสอบ VICAT ค่าHeat transfer coefficient ค่าEffective heat of combustion ค่าLinear expansion coefficient ค่าSpecific heat ค่าWater absorption (ASTM) 2) เปรียบเทียบคุณภาพระหว่างวัสดุจาก polyvinyl chloride (PVC) และวัสดุสังเคราะห์จากยางพารา โดยนำวัสดุทั้ง 2 ชนิดมาเปรียบเทียบค่าต่างๆในตอนที่ 1 โดยเลือกใช้อัตราส่วนของยางพาราและนาโนเซลลูโลสที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับ polyvinyl chloride (PVC) 3) แปรรูปวัสดุสังเคราะห์จากยางพาราให้สามารถทดแทนวัสดุสังเคราะห์จาก polyvinyl chloride (PVC) โดยการนำจุดเด่นในตอนที่ 2 มาประยุกต์และแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ใช้คุณสมบัตินั้นๆขึ้นมาทดแทน polyvinyl chloride (PVC) แล้วทำการเปรียบเทียบกับผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้วในท้องตลาด