เจลน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้มโอยับยั้งการลุกลามของแผลจากแมลงก้นกระดก

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

นาถชนก ขำณรงค์, อณัฐญา บุญชะนะ

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

กนกรัตน์ สิงห์นุ้ย

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2563

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานนี้ศึกษาการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้มโอซึ่งเป็นพืชท้องถิ่นที่พบเป็นจำนวนมากในจังหวัดนครศรีธรรมราช รวมถึงตรวจสอบฤทธิ์ต้านแบคทีเรียในตัวแมลงก้นกระดกและบริเวณผิวหนังที่ทำให้เกิดแผลและการลุกลามของแผลดังกล่าว ขั้นตอนการสกัดน้ำมันหอมระเหยเริ่มจากการนำเปลือกส้มโอสดมาสกัดโดยวิธีการกลั่นด้วยไอน้ำ จากนั้นนำน้ำมันหอมระเหยเปลือกส้มโอไปขึ้นรูปเป็นเจลที่ความเข้มข้น 2%w/w และ 4 %w/w โดยใช้ส่วนผสมดังนี้ น้ำมันหอมระเหย , ผงว่านหางจระเข้ , Carbopol 940 , Polyethylene glycol 400 (PEG 400) , Propylene glycol(PG) , แพคติน และ น้ำ แล้วนำไปศึกษาฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธี Agar diffusion และ Broth dilution โดยทดสอบกับแบคทีเรีย จำนวน 6 ชนิด ได้แก่ Pseudomonas aeruginosa , Staphylococcus aureus , Staphylococcus epidermidis และแบคทีเรียที่พบในตัวแมลงก้นกระดกจำนวน 3 ชนิด เพื่อให้ได้เจลน้ำมันหอมระเหยจากเปลือกส้มโอซึ่งสามารถยับยั้งการลุมลามของแผลผื่นผิวหนังอักเสบที่เกิดจากแบคทีเรียและสาร Pederin ในตัวแมลงก้นกระดก