การศึกษาการขึ้นรูปสารแทนนินจากเปลือกกล้วยแต่ละชนิดเพื่อดูดซับโลหะหนัก
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
วีรยุทธ จักษุมา, นีลพร ไกรพล
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
อารีรัตน์ มัฐผา
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ปัจจุบันมีการทำอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากมาย โดยพื้นที่บริเวณชายฝั่งถูกใช้เป็นนิคมอุตสาหกรรมจำนวนมากประมาณ 30 แห่ง เนื่องจากเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงสุดในการพัฒนาทั้งด้านความสะดวกในการคมนาคม การขนส่ง สร้างท่าเรือน้ำลึก นอกจากนี้อุตสาหกรรมจำนวนมากจำเป็นต้องใช้น้ำปริมาณมหาศาลในการระบายความร้อน ทำความสะอาด หรือเจือจางของเสียก่อนที่จะปล่อยทิ้ง
เมื่อมีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาก ปัญหามลพิษต่าง ๆ ย่อมมีมากขึ้นหากไม่ได้รับการใส่ใจในการบำบัดของเสียดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางอากาศหรือมลพิษทางน้ำ โดยน้ำทิ้งหรือน้ำเสียจากโรงงานอุตสหากรรมส่วนใหญ่มักมีการปนเปื้อนของสารพิษหรือโลหะหนักที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศหรือแม้กระ ทั่งต่อตัวของมนุษย์เอง หากมีการปล่อยน้ำเสียที่ยังไม่ได้รับการบำบัดหรือผ่านกระบวนการบำบัดที่ไม่ได้คุณภาพตามมาตรฐานก็อาจจะทำให้เกิดการปนเปื้อนในแหล่งน้ำ ทำให้พืชและสัตว์น้ำบริเวณนั้นเกิดการสะสมในร่างกายและเมื่อมนุษย์นำพืชหรือสัตว์เหล่านั้นมาบริโภคก็จะทำให้เกิดการสะสมและเป็นอันตรายได้
ในการดำเนินชีวิตมนุษย์ต้องการสารอาหารที่จำเป็นอย่างมากต่อร่างกาย เพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและช่วยให้ระบบต่าง ๆ ในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ ทั้งนี้เพื่อสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์แข็งแรงจึงควรบริโภคอาหารที่มีประโยชน์และสะอาดปลอดภัย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีการปนเปื้อนสารพิษหรือโลหะหนัก เมื่อร่างกายบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนโลหะหนักเข้าไปจะเกิดกระบวนการย่อยให้อาหารมีโมเลกุลเล็กลง ซึ่งในกระบวนการนี้จะทำให้สารพิษหรือโลหะหนักที่ปนเปื้อนอยู่ถูกปลดปล่อยออกมาและกระจายไปสะสมอยู่ในร่างกายจนทำให้เกิดโรคได้
ทางผู้จัดทำโครงงานจึงคิดหาวิธีในการลดปริมาณโลหะหนักในน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดยใช้วัสดุจากธรรมชาติ เมื่อทำการศึกษาค้นคว้าจากงานวิจัยต่าง ๆ ผู้จัดทำจึงเลือกกล้วยซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของไทย โดยใช้ส่วนของเปลือกผลของกล้วยหอม กล้วยน้ำว้าและกล้วยไข่ ศึกษาปริมาณสารแทนนิน แล้วนำไปทำเป็นแผ่นเจลแทนนินเพื่อดูดซับโลหะหนัก 3 ชนิด ได้แก่ ตะกั่ว แคดเมี่ยมและปรอท มีจุดประสงค์เพื่อลดปริมาณโลหะหนักที่ปนเปื้อนในอาหารทะเลให้น้อยลงจนไม่เกิดเป็นอันตรายต่อร่างกาย ผู้จัดทำจึงได้คิดและจัดทำโครงงานเรื่องการศึกษาการขึ้นรูปสารแทนนินจากเปลือกกล้วยแต่ละชนิดเพื่อดูดซับโลหะหนัก
โดยสารเเเทนนินจากกล้วยเเล้วนำมาขึ้นรูปในรูปเเบบของเเผ่นเจลเเล้วนำไปทดสอบกับสารละลายโลหะหนักตะกั่ว ปรอท เเละเเคดเมียมเเละศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดูดซับของสารเเทนนิน