การศึกษาผลของสารสกัดจากเมล็ดน้อยหน่าต่อการรอดชีวิตและเจริญเติบโตของแมลงวันผลไม้
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
กลวัชร วงค์พุทธคำ, นัฏฐวัฒน์ ไกลถิ่น, ธนกฤต มุงจะรส
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
คุณากร จิตตางกูร
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
ศัตรูพืชนับว่าเป็นปัญหาทางการเกษตรกรรมเป็นอย่างมาก มากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ของพืชจะสูญเสียและถูกทำลายโดยแมลงศัตรูพืช แมลงศัตรูพืช จำแนกเป็น 2 ประเภทตามลักษณะการกัดกินคือ แมลงปากดูด ซึ่งจะทำลายต้นไม้ด้วยการดูดกินน้ำเลี้ยง เช่น เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไร แมลงหวี่ขาว อีกประเภทคือ แมลงปากกัด จะทำลายต้นไม้ด้วยการกัดกินใบ ใช้ปากแทะ เช่น หนอนชอนใบ หนอนกระทู้ เป็นต้น แมลงศัตรูพืชที่สำคัญของสวนผลไม้คือ แมลงวันทอง หรือแมลงวันผลไม้ (Oriental fruit fly) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Dacus dosalis ซึ่งจะทำลายของแมลงวันผลไม้โดยแมลงวันผลไม้ตัวเมียจะใช้อวัยวะวางไข่ที่เป็นปลายแหลม แทงทะลุเปลือกเข้าไปในเนื้อผลไม้เพื่อวางไข่ที่ผิวหรือในเนื้อผลไม้ ในขณะที่ผลยังอ่อนอยู่ ในระยะที่ผลไม้แก่จัด ไข่จะฟักตัวเป็นหนอนก็พอดีกับระยะที่ผลไม้สุก ตัวหนอนซึ่งฟักออกมาแล้วก็จะเริ่มกัดกินอยู่ภายในผลก่อให้เกิดความเสียหายของผลผลิตทางการเกษตรเป็นอย่างมาก
การควบคุมแมลงศัตรูพืชเกษตรกรสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การใช้ยาฆ่าแมลง การควบคุมโดยชีววิธี (Biological control) โดยการใช้ตัวห้ำ และตัวเบียน กินกันเองตามธรรมชาติ แต่วิธีนี้จะมีข้อจำกัดคือ ตัวห้ำหรือตัวเบียนจะมีความจำเพาะต่อแมลงศัตรูพืช การใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้าน การใช้สมุนไพรในการทำเป็นย่าฆ่าแมลง เป็นต้น จากการศึกษางานวิจัยพบว่า สารสกัดจากสภาพแห้งของเมล็ดสะเดา (Azadirachta sp.) เมล็ดน้อยหน่า (Annona sp.) รากหนอนตายหยาก (Stemona sp.) และรากหางไหล (Derris sp.) มีผลต่ออัตราการตายของหนอนแมลงวัน แมลงวัน ลูกน้ำยุง ยุง และเห็บโค (คณิต ขอพลอยกลาง และ จารุยา ขอพลอยกลาง, 2557) และพบว่าในเมล็ดน้อยหน่ามีสารอัลคาลอยด์ ชื่อ Anonaine มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัดหนอนใยผัก ฆ่า เพลี้ยจักจั่น มวนเขียว แมลงวัน และเหา ที่สำคัญ รวมทั้งยับยั้งการวางไข่ และการเกิดลูกรุนใหม่ของด้วงถั่วเขียวได้อีกด้วย (ยืนยง วาณิชย์ปกรณ์ และ พัชราภรณ์ วาณิชย์ปกรณ์, 2559) จึงเป็นไปได้ว่าสารสกัดจากเมล็ดน้อยหน่าสามารถกำจัดหนอนแมลงวันผลไม้ ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียของผลไม้ได้