การศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการสารสกัดหยาบจากกระเทียมในการยับยั้งการแข็งตัวของเลือดและการสลายลิ่มเลือด
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ภควัฒน์ คงศาลา
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ณัฐพงศ์ นพโลหะ, ปุณยาพร พลายงาม
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
โรคลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของกระบวนการแข็งตัวของเลือด ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในการป้องกันการเสียเลือด สำหรับยาที่มีส่วนช่วยในการสลายลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดนั้นเป็นตัวยาที่มีราคาสูงมาก ทางคณะผู้จัดทำจึงมีความสนใจในการศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากสมุนไพรที่ช่วยในการยับยั้งการแข็งตัวของเลือดและการสลายตัวของลิ่มเลือดโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของกระเทียมที่มีผลต่อการยับยั้งการแข็งตัวของเลือดและการสลายลิ่มเลือดและการคงอยู่ของเซลล์ และ 2) เพื่อศึกษาปัจจัย ที่เกี่ยวข้องที่มีผลต่อการออกฤทธิ์ของสารสกัดหยาบของกระเทียมที่มีผลต่อการยับยั้งการแข็งตัวของเลือดและการสลายลิ่มเลือด โดยใช้ 3 วิธีการในการศึกษา ได้แก่ 1) การศึกษาการยับยั้งการแข็งตัวของเลือดโดยกระบวนการ Whole blood clotting time 2) การศึกษาการสลายตัวของลิ่มเลือดโดยกระบวนการ Whole blood clot lysis และ 3) การศึกษาความอยู่รอดของเซลล์ (cell viability) ด้วยกระบวนการ cell counting จากการศึกษาพบว่ากระเทียม มีความสามารถยับยั้งการแข็งตัวของเลือดและทำให้เกิดการสลายตัวของลิ่มเลือด และพบว่ากระเทียมไม่มีผลทำให้เซลล์ตาย จึงมีการนำกระเทียมสดและกระเทียมสกัดมาศึกษาต่อโดย ศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากกระเทียมที่ผ่านกระบวนการประกอบอาหารโดยการต้ม ผัด ทอด และผ่านสภาวะจำลองเสมือนในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นต่อการยับยั้งการแข็งตัวของเลือดและการสลายลิ่มเลือด พบว่ากระเทียมไม่สามารถคงคุณสมบัติในการต้านการแข็งตัวของเลือดได้ จึงนำมาสู่การศึกษาเพื่อหารูปแบบการบรรจุภัณฑ์แบบดัดแปรเพื่อคงประสิทธิภาพของสารสกัดหยาบจากกระเทียมคือ การศึกษารูปแบบการบรรจุภัณฑ์แบบดัดแปรต่อการคงประสิทธิภาพในการยับยั้งการแข็งตัวและสลายลิ่มเลือดหลังผ่านสภาวะจำลองเสมือนกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น นำมาสู่การทดลองเพื่อหาปริมาณที่เหมาะสมของสาร Allicin บริสุทธิ์และสาร Allicin จากผงกระเทียมแคปซูลที่ส่งผลต่อการยับยั้งการแข็งตัวของเลือดและการสลายลิ่ม