การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการการแปรรูปกระเทียมผงในการคงปริมาณ Allicin สำหรับการใช้ทดแทนสารกันเลือดแข็งในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

ธีรนาถ ต้นสาลี, ภัทรธร ชูศักดิ์วรกุล, ภูมิพัฒน์ ชัยอัศวนันต์

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ณัฐพงศ์ นพโลหะ, ปุณยาพร พลายงาม

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในปัจจุบันการตรวจสภาพของโรคต่างๆ ในห้องปฏิบัติการจำเป็นต้องตรวจหาจากสารคัดหลั่งในร่างกาย เช่น ปัสสาวะ , เสมหะ , น้ำไขสันหลัง หรือเลือด ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะการตรวจหา เพื่อให้ได้มาซึ่งผลการวินัจฉัยและนำไปรักษาต่อไป โดยเฉพาะการเจาะเก็บเลือดนั้น มีขั้นตอนและรูปแบบที่ค่อนข้างยุ่งยากในแต่ละการตรวจวินิจฉัยโรค เนื่องจากผลที่ได้จากการตรวจเลือดสามารถนำไปวิเคราะห์และวินิจฉัยโรคได้หลากหลาย เช่น การตรวจหาค่าองค์ประกอบของเลือด (CBC) , ปริมาณน้ำตาล glucose หรือค่า liver function โดยการตรวตค่าต่างๆนั้นใช้ส่วนประกอบของเลือดที่แตกต่างกัน จึงได้มีหลอดเก็บเลือดทั้งหมด 2 ชนิด คือ ชนิดที่ไม่มีสารกันเลือดแข็ง กับ ชนิดที่มีสารกันเลือดแข็ง โดยใช้งานจะขึ้นอยู่กับลักษณะการตรวจ

ทั้งนี้คณะผู้จัดทำได้ศึกษาสมุนไพรที่สามารถยับยั้งการแข็งตัวเลือด ซึ่งจากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมพบว่า กระเทียมสามารถยับยั้งการแข็งเลือดได้ดีที่สุด

ดังนั้นคณะผู้จัดทำจึงทำการศึกษาวิธีการแปรรูปกระเทียมสดให้เป็นกระเทียมผง และสามารถคงประสิทธิภาพและปริมาณของ Allicin ได้