ถุงเพาะชำชีวภาพย่อยสลายได้จากเปลือกข้าวโพด

ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

สุธากร คุณวงศ์, วิลาวัณย์ หาวิเศษ, ศุภรัตน์ เชิดชม

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์

ดลนภา พรรื่นเริง

โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์

พ.ศ. 2562

บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์

ในปัจจุบันเพาะปลูกต้นกล้าเป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ยาก แต่เกษตรกรส่วนใหญ่มักนำเอาถุงเพาะชำพลาสติกมาเป็นถุงเพาะชำต้นกล้า และเมื่อถึงเวลานำต้นกล้าไปปลูกลงดิน ถุงเพาะชำต้นกล้าที่มาจากพลาสติกจะไม่สามารถย่อยสลายในดินได้ในเวลาอันสั้น จึงจำเป็นที่จะต้องฉีกถุงเพาะชำออกก่อนที่จะนำต้นกล้าลงดิน ซึ่งการฉีกถุงเพาะชำนั้นจะส่งผลให้รากของต้นกล้าเกิดการฉีกขาดและเสียหาย อาจทำให้ต้นกล้าเจริญเติบโตได้ไม่ดีเท่าที่ควร และเศษถุงพลาสติกที่เหลือจากการเพาะชำต้นกล้าจะเป็นปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากเศษถุงพลาสติกเป็นขยะที่กำจัดได้ยากและใช้เวลานานในการย่อยสลาย และจะทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศหากมีการกำจัดเศษถุงพลาสติกเหล่านี้ด้วยวิธีการเผา อีกทั้งมลภาวะทางอากาศที่เกิดจากการเผาพลาสติกอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้ ผู้จัดทำจึงมีความสนใจที่จะทำการศึกษาค้นคว้าและทดลองหาวัสดุอื่นๆมาทำถุงเพาะชำต้นกล้าแทนพลาสติกเพื่อให้ย่อยสลายได้ โดยใช้วิธีการนำเปลือกข้าวโพดมาทำเหมือนกระดาษ แล้วนำไปขึ้นรูปเป็นถุงเพาะชำแทนถุงพลาสติก