การพัฒนาวิธีการจำแนกการปนเปื้อนเนื้อสัตว์ต่างชนิดกันโดยวิธีทางด้านอณูพันธุศาสตร์
- ชื่อนักเรียนผู้จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
ปิยะฉัตร เงินกอง, กัญญา สนุกใจ, ธันยพัต แก้วไทย
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์
ณราภรณ์ ชาตรี
- โรงเรียนที่กำกับดูแลโครงงานวิทยาศาสตร์
- ปีที่จัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์
บทคัดย่อโครงงานวิทยาศาสตร์
เนื้อสัตว์เป็นหนึ่งในอาหารหลักที่ประชาชนส่วนใหญ่บริโภค อย่างไรก็ตาม เนื้อสัตว์บางชนิดไม่เป็นที่พึงประสงค์ของบางคนอาจเนื่องด้วยเหตุผลด้านศาสนาหรือเหตุผลอื่น ๆ การศึกษาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการจำแนกการปนเปื้อนเนื้อสัตว์ต่างชนิดโดยวิธีทางด้านอณูพันธุศาสตร์ โดยนำเนื้อสุกร โค ไก่ มาสกัดดีเอ็นเอและออกแบบไพรเมอร์ที่มีความจำเพาะต่อสัตว์ทั้งสามชนิดโดยใช้เทคนิคพีซีอาร์แล้วนำมาตัดด้วยเอนไซม์ตัดจำเพาะ พบว่าสามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอ โดยได้ขนาดผลิตผลพีซีอาร์ตรงตามที่ออกแบบไว้ และพบว่าการใช้เอนไซม์ตัดจำเพาะ EcoRI สามารถจำแนกการปนเปื้อนดีเอ็นเอจากเนื้อสุกรที่ปนกับดีเอ็นเอของ เนื้อไก่ได้ โดยปริมาณที่น้อยที่สุดที่สามารถจำแนกคืออัตราส่วน 20:100 ขึ้นไปซึ่งเป็นปริมาณที่สามารถเห็นได้ชัดเจน แต่ในอัตราส่วนของ 5:100 และ 10:100 ก็สามารถเห็นถึงความแตกต่างได้เพียงแค่ไม่ได้มีความชัดเจนเท่าที่ควร การใช้เอนไซม์ตัดจำเพาะ Hpy188III จำแนกการปนเปื้อนดีเอ็เอของเนื้อสุกรที่ปนกับดีเอ็นเอของเนื้อโค พบว่าสามารถจำแนกเนื้อสุกรกับเนื้อโคได้ ซึ่งปริมาณที่น้อยที่สุดที่สามารถจำแนกได้คืออัตราส่วน 5:100 ขึ้นไป ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าด้วยการใช้วิธีการดังกล่าวสามารถจำแนกการปนเปื้อนต่างชนิดได้และสามารถเป็นแนวทางในการพัฒนาเพื่อใช้ในการจำแนกการปนเปื้อนผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ต่างชนิดที่มีการแปรรูปแล้ว